รหัสการวินิจฉัยโรคด้านการแพทย์แผนไทย
(U50 – U70)

 

รหัสบทนี้ประกอบด้วยหมวดต่างๆ ดังนี้
U50 – U52 โรคของสตรี
U54 – U55 โรคของเด็ก
U56 – U60 โรคที่เกิดอาการหลายระบบ
U61 – U72 โรคที่เกิดเฉพาะตำแหน่ง
U74 – U75 โรคและอาการอื่น
U77                  การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

 

โรคของสตรี
(U50 – U52)

U50                     ความผิดปกติของสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด

U50.0                  แพ้ท้อง
                           อาการคลื่นไส้  อาเจียน  ที่พบในสตรีตั้งครรภ์ในช่วงระยะไตรมาสแรก  และอาการดีขึ้นหลังจากนั้น

U50.1                  สตรีหลังคลอดบุตรโลหิตแห้งไป
ประจำเดือนในสตรีหลังคลอดบุตรไม่มาตามปกติ  เนื่องจากสตรีกินยาและอาหารรสร้อนจัด  และน้ำคาวปลาออกไม่หมด  ทำให้โลหิตแห้งไปเป็นก้อนกาฬ  แห้งติดกระดูกสันหลังให้ปวดหลัง  ปวดเอว  อยู่ ๑๔ - ๑๕ วัน  หลังจากนั้นโลหิตเป็นพิษทำโทษต่างๆ  เป็นตุ่มเม็ดเหมือนหนามบัว  ให้มีอาการชัก  ตาเหลือกตาช้อน  สลบไป

U50.2                  สตรีหลังคลอดน้ำคาวปลาไม่เดิน
ภาวะน้ำคาวปลาไม่ออก  เป็นเพราะปากมดลูกหย่อนยานต่ำลงมา  แล้วไปติดปิดปากช่องคลอด  ทำให้น้ำคาวปลาเดินไม่ได้

U50.3                  สตรีหลังคลอดอยู่ไฟไม่ได้
แม่หลังคลอดไม่สบาย  สาเหตุจากน้ำคาวปลาเป็นพิษ  โลหิตตีขึ้นกระทำให้นอนเพลิงมิได้  ให้สวิงสวาย  แลลมเสมหะระคนกันตีขึ้นมาจุกในลำคอและยอดอก ให้แน่นใจแดกอกเป็นกำลัง  และให้ท้องขึ้นบริโภคอาหารมิได้  ให้หาวให้เรอ  อาจใจสั่น  ตาเหลือกตาช้อน  ชักสลบ

U50.4                  สตรีหลังคลอดมีน้ำนมน้อย
หลังคลอดบุตรมารดามีน้ำนมออกน้อย  ไม่พอเพียงให้ทารกรับประทาน

U50.5                  สตรีหลังคลอดไม่มีน้ำนม
หลังคลอดบุตรมารดาไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก

U50.8                 ความผิดปกติชนิดอื่นของสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด, ที่ระบุรายละเอียด

U50.9                 ความผิดปกติของสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด, ไม่ระบุรายละเอียด
U51                    ความผิดปกติของโลหิตระดู

U51.0                โลหิตปกติโทษ
อันว่าโลหิตระดูนี้เป็นชาติธรรมดา  สตรีผู้ใดเคยถึงระดูนั้น  ลมกองใดเคยกำเริบ  ลมกองนั้นกำเริบขึ้นทุกเดือนทุกครั้ง  จึงเรียกว่าปกติโลหิต  ถ้าถึงกำหนดระดูมาอาการแปลกไปอย่างอื่น  ลมกองอื่นทำแล้วจัดได้ชื่อว่าทุจริตโทษ  อาการโลหิตปกติโทษนั้น  ใช่จะมีแต่ ๕ ประการนั้นหามิได้  ก็ย่อมมีต่างๆ ตามลักษณะโลหิตที่เป็นนั้น  ตั้งแต่แรกเมื่อระดูมาอาศัยธาตุ  อาศัยสมุฏฐาน  อาศัยฤดูที่เคยเป็นนั้น

                             
U51.00              โลหิตระดูอันบังเกิดแต่หัวใจ
เมื่อจะมีระดูมามักให้ระส่ำระสาย มักขึ้งโกรธ บ้าบ่น บางทีให้คลั่งละเมอเพ้อพก เมื่อจะเป็นนั้นริมจักษุเขียว ถ้าแพทย์ผู้ใดแก้มิฟัง  หญิงนั้นจะเสียจริตเป็นบ้า

U51.01              โลหิตระดูอันบังเกิดแต่ขั้วดี
เมื่อระดูมีมาให้เป็นไข้ไป ๔ – ๕ วัน  ให้เชื่อมไป  ไม่รู้ว่าค่ำรุ่ง  และนอนสะดุ้งหวาด  เจรจาด้วยผีคนสมมุติว่าขวัญไปกินเถื่อน  เพราะว่าโลหิตนั้นทำเอง  บางทีผุดขึ้นมาเห็นดำเห็นแดงก็มี  เท่าแว่นน้ำอ้อยก็มี  ถ้าผู้ใดแก้มิฟัง  บุคคลผู้นั้นจะกลายเป็นไข้รากสาดสันนิบาต
 
U51.02              โลหิตระดูอันบังเกิดแต่ผิวเนื้อ
เมื่อจะมีระดูมานั้น ให้ร้อนผิวเนื้อ ให้ร้อนผิวหนัง แลแดงดังผลตำลึงสุก บางทีผุดขึ้นดังเม็ดผด แลเท่าใบพุทราเท่างบน้ำอ้อยก็มี ดุจไข้รากสาดสันนิบาตไป ๒ วัน ๓ วัน บางทีสมมติว่าเป็นประดง ครั้นระดูมีมาก็หาย

U51.03              โลหิตระดูอันบังเกิดแต่เส้นเอ็น
เมื่อระดูจะมีมานั้น ให้เป็นดุจไข้จับ ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นระดูมีมาก็หายไปแล

U51.04              โลหิตระดูอันบังเกิดแต่กระดูก
เมื่อจะมีระดูมานั้น ให้เมื่อยทุกข้อทุกลำนั้น ดังอัฐิจะแตกจะคลาดจากกัน ให้เจ็บเอวให้เจ็บท้อง ให้บิดคร้านนอนไป ครั้นระดูมีมาก็หาย

U51.09              โลหิตปกติโทษ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U51.1               โลหิตระดูอันบังเกิดแต่กองธาตุ
โลหิตระดูที่เกิดจากกองธาตุทั้ง ๔  ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

U51.10              โลหิตระดูอันกำเนิดแต่กองปถวีธาตุ
ถ้าแลเกิดแก่สตรีผู้ใด  ที่มีสามีแล้วก็ดี  ที่หาสามีมิได้ก็ดี  ลักษณะเมื่อระดูมีมานั้นให้เมื่อยทุกข้อทุกลำกระดูก  ระดูเดินหยดย้อยมิได้สะดวก  บางทีให้เป็นมันเป็นเมือก  บางทีปรเมหะระคนออกมากับโลหิตเหนียวดุจยางมะตูม  กระทำให้ร้อน  ให้แสบแล้วจุกเสียด  ให้ท้องขึ้นเป็นกำลัง  แลระดูนั้นมีสีดำ สีแดง สีขาว สีเหลือง ระคนกันออกมา  กลิ่นอันคาวยิ่งนัก  ให้ปวดในท้องเป็นกำลัง

U51.11              โลหิตระดูอันกำเนิดแต่กองอาโปธาตุ
ถ้าสตรีผู้ใด  ที่ยังมิได้มีสามีก็ดี  มีสามีแล้วก็ดี  เมื่อจวนจะมีระดูมานั้นกระทำให้ลงไปวันละ ๕ ครั้ง  วันละ ๖ ครั้ง  ระดูนั้นเดินออกมาเป็นมวก (เมือก)  เป็นมัน  เหม็นคาวยิ่งนัก  โลหิตนั้นบางทีใส  บางทีเป็นเปลวดุจปรเมหะ (ของเหลวที่ออกจากมดลูกซึ่งมีลักษณะเป็นเมือกมูก เมือกมันเปลวไต)  แลไข่ขาว  แลระดูนั้นเดินมิได้สะดวก  ให้ปวดท้องเป็นกำลัง  ให้บริโภคอาหารมิได้

U51.12              โลหิตระดูอันกำเนิดแต่กองวาโยธาตุ
ถ้าเกิดแก่สตรีผู้ใด  ที่มีสามีแล้วก็ดี  ที่มิได้มีสามีแล้วก็ดี  เมื่อจะมีระดูมานั้นกระทำให้ท้องขึ้นท้องพอง  ให้จุก  ให้เสียดเป็นกำลัง  ให้ตัวร้อน  ให้จับเป็นเวลา  ให้คลื่น  ให้เหียน  ให้อาเจียนแต่ลมเปล่า  ระดูมีมาไม่สะดวก  มีสีดุจน้ำดอกคำอันจาง (ดอกคำไทย)  ให้ปวดเป็นกำลัง

U51.13              โลหิตระดูอันกำเนิดแต่กองเตโชธาตุ
ถ้าแลเกิดแก่สตรีผู้ใด  ที่มีสามีแล้วก็ดี  หาสามีมิได้ก็ดี  เมื่อระดูจะมีมานั้นกระทำให้ตึงไปทั้งตัวแล้วระดูจึงมีมา  ให้ร้อนอยู่ช่องครรภ์ดุจถูกพริก  แลโลหิตที่ออกมานั้นเป็นฟอง  มีสีดุจน้ำฝาง  อันบุคคลเอาน้ำส้มมะนาวบีบลงสีนั้นก็เหลืองไปแล้ว  กระทำให้ร้อนผิวเนื้อดังจะปอก (ลอก)  แลให้อาเจียน  ให้เหม็นอาหาร  บริโภคอาหารมิได้  ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว  แลให้จุกแดก

U51.19              โลหิตระดูอันกำเนิดแต่กองธาตุ, ไม่ระบุรายละเอียด

U51.2                โลหิตระดูเป็นชาติโทษ
มี ๒ จำพวกคือ  หญิงบางจำพวกมีอายุได้ ๑๔, ๑๕ ปีก็ดี  ควรมีระดูก็ไม่มีระดู  บางทีมีระดูมาครั้งหนึ่งสองครั้งก็แห้งไป  เมื่อมีสามีแล้วจึงมีระดูปกติก็มี บางทีระดูล้างหน้า (ระดูล้างหน้า หมายถึงคำศัพท์ที่ใช้เรียกเฉพาะในหญิงที่จะตั้งครรภ์ คือระดูที่มีมาเล็กน้อยก่อนตั้งครรภ์ในผู้หญิงที่มีสามีแล้ว)  ก็มีครรภ์ทีเดียว  ลักษณะดังนี้เป็นชาติประเวณีแห่งหญิงนั้นมาแต่ตระกูลแห่งบิดามารดา  และย่ายายของสตรีผู้นั้นเนื่องกันมาแต่โบราณประเพณี  ถ้าแพทย์จะรักษาให้แต่งยาบำรุงธาตุให้บริบูรณ์  กาลควรที่โลหิตจะมีเมื่อใดก็คงจะมีเมื่อนั้น  พระอาจารย์เจ้าท่านกล่าวไว้ว่าหญิงนี้เกิดด้วยราคะกำหนัด  เพราะความกระสันด้วยกามราคะหนักโลหิตจึงแห้งไป  ครั้นมีสามีสมความปรารถนาราคะกำหนัดนั้นก็คลายลง  โลหิตนั้นก็บริบูรณ์ขึ้นเอง  หญิงจำพวกหนึ่งเมื่อหาสามีได้  โลหิตนั้นบริบูรณ์งามดี  ครั้นมีสามีแล้วได้ ๑ ปี ๒ ปี เดือน ๑ ก็ดี  โลหิตนั้นจางซีดไป  บางทีแห้งติดกระดูกสันหลัง  มีอาการให้เจ็บหลังเจ็บเอว  ให้เมื่อยทุกข้อทุกลำ  ให้แดกให้จุก  ท้องขึ้นท้องพอง  ให้เป็นไปต่างๆ  ให้ผิวเนื้อชา  เนื้อซีด  หน้าตาอิดโรยหิวโหยเป็นกำลัง  นอนไม่หลับกินข้าวไม่ได้  แพทย์ผู้ใดมิได้รู้ก็สมมติว่าเถาว่าดาน  ริดสีดวงก็ว่า  เพราะโทษโลหิตนั้นเอง  เพราะว่าสตรีผู้นั้นมักมากด้วยราคะกิเลส  ส้องเสพกามคุณด้วยสามีนั้นเหลือกำลังนัก  ไม่เป็นที่จะกินจะนอน   บางทีสามีนั้นมากด้วยกามคุณนัก  สตรีมิอาจทานทนกำลังสามีได้  โลหิตนั้นจึงแห้งไป  ถ้าแพทย์จะรักษาพึงให้เอายาประจุโลหิตจงหนัก  แล้วจึงแต่งยาบำรุงธาตุบำรุงกามให้กิน  แล้วจึงแต่งยาชื่อว่ากำลังราชสีห์ และแสงพระอาทิตย์บำรุงโลหิตให้บริบูรณ์แล้วเมื่อใด  สัตว์ที่จะมาปฏิสนธิในครรภ์ก็จะตั้งขึ้นได้เมื่อนั้น 

 U51.3              โลหิตทุจริตโทษ
โลหิตทุจริตโทษมี ๕ ประการ  โลหิตระดูร้าง  โลหิตคลอดบุตร  โลหิตต้องพิฆาต  โลหิตเน่า  โลหิตตกหมกซ้ำ

U51.30             โลหิตระดูร้าง
เมื่อจะบังเกิดโลหิตระดูมิให้มาตามปกติ  บางทีดำและมีกลิ่นเหม็นเน่า  บางทีจางดุจน้ำชานหมาก  บางทีใสดุจน้ำคาวปลา  บางทีขาวดุจน้ำซางข้าว  กระทำให้เจ็บปวดเป็นไปต่างๆ  ครั้นเป็นนานมักกลายเป็นมานโลหิต

U51.31             โลหิตคลอดบุตร
เมื่อจะบังเกิดทำให้โลหิตคั่งเข้าเดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่ม เป็นก้อน ให้แดกขึ้นแดกลง เพราะบางทีให้คลั่ง ขบฟัน  ตาเหลือกตาซ้อน  ขอบตาเขียวและริมฝีปากเขียว  เล็บมือเล็บเท้าเขียว  สมมุติว่าปีศาจเข้าสิง

U51.32             โลหิตต้องพิฆาต
อันตกต้นไม้และถูกทุบถองโบยตี  ถ้าเป็นดังกล่าวท่านว่าไข้นั้นถึงพิฆาต  เพราะโลหิตที่ถูกกระทำนั้นกระทบซ้ำระคนกับโลหิตระดู เกิดแห้งกรังเข้าติดกระดูกสันหลังอยู่  จึงได้ชื่อว่าโลหิตแห้งกรังเพราะอาศัยโลหิตพิฆาต

U51.33             โลหิตเน่า
อาศัยโลหิตระดูร้าง  โลหิตคลอดบุตร  โลหิตต้องพิฆาต  และโลหิตตกหมกซ้ำเจือมาเน่าอยู่  จึงเรียกว่าโลหิตเน่า  เป็นใหญ่กว่าลมทั้งหลาย  เมื่อจะให้โทษโลหิตเน่ามีพิษอันกล้าแล่นไปทุกขุมขน  บางทีแล่นเข้าจับหัวใจ  บางทีแล่นออกผิวเนื้อ  ผุดเป็นวงดำแดง  เขียว  ขาวก็มี  บางทีผุดขึ้นดังยอดผด  ทำพิษให้คันเป็นกำลัง  ทุรนทุรายยิ่งนัก

U51.34             โลหิตตกหมกซ้ำ
ก็อาศัยโลหิตเน่า  เหตุเพราะแพทย์ใช้ยาประคบ  ยาผาย  ยาขับโลหิตไม่ถึงกำลัง  หมายถึงให้ยาน้อยกว่ากำลังเลือด  และโลหิตนั้นเกิดระส่ำระสาย  ออกไม่หมดสิ้นเชิง  จึงตกหมกซ้ำอยู่  ได้ชื่อว่าโลหิตตกหมกซ้ำ  บางทีตกซ้ำอยู่ในเส้นเอ็นหัวเหน่า  เมื่อจะให้โทษก็คุมกันเข้ากระทำให้เป็นฝีมดลูก  ฝีปอดคว่ำ  ฝีเอ็น  ฝีอัคนีสันต์  ฝีปลวก  และมานโลหิต

U51.39             โลหิตทุจริตโทษ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U51.4              โลหิตระดูมาน้อยหรือไม่มา

                                U51.40                            โลหิตระดูขัด
                                                                        ระดูมาไม่ปกติ

U51.41             โลหิตระดูแห้งไป
หญิงใดมีระดูมาแล้วโลหิตนั้นกลับแห้ง  ไม่มีมาตามประเวณี  หญิงนั้นไปทุกข์สัตว์เบา  ให้ขัดหัวเหน่า  หาแรงมิได้  ให้เสียดสีข้าง  ลางทีให้จุกอกขึ้นมา  ครั้นนวดก็ค่อยสบาย  แล้วกลับเป็นมาเล่า  หลายครั้งหลายที  จึงให้กลายเป็นฝีในมดลูก  ลางทีก็กลายเป็นลมก้อน

 

U51.42             โลหิตระดูไม่มา
เมื่อถึงเวลามีระดู  แต่กลับไม่มีระดูมา

U51.43             โลหิตระดูมาน้อยกว่าปกติ
มีระดูมาน้อยกว่าปกติ

U51.5               โลหิตระดูมามากกว่าปกติ
มีระดูมามากกว่าปกติ

U51.6               ปวดโลหิตระดู หรือ ปวดระดู
อาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน

U51.8               ความผิดปกติชนิดอื่นของโลหิตระดู, ที่ระบุรายละเอียด

U51.9               ความผิดปกติของโลหิตระดู, ไม่ระบุรายละเอียด
 
U52                  โรคและอาการอื่น ของสตรี

U52.0               มุตกิต
มุตกิตมี ๔ ประการ คือ  ให้น้ำปัสสาวะเป็นโลหิตช้ำดังกลิ่นน้ำปลาเน่า  บางทีเป็นโลหิตจางดุจน้ำชานหมาก  บางทีเป็นบุพโพจางๆ ดังน้ำซาวข้าว  บางทีเป็นดังน้ำมูกขัดหยดๆย้อยๆ  จะออกมาให้ขัดให้ปวดหัวเหน่า  ให้หนักตะโพก ให้แสบอก กินอาหารไม่รู้รส  แลโรคทั้งนี้เป็นเพราะโลหิตช้ำ

U52.1               ตกขาว
มีของเหลวออกมาจากช่องคลอด (ยกเว้นเลือด)

U52.2               ดานเลือด
เป็นโรคที่เกิดในหญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือช่วงมีประจำเดือน  หมายถึงก้อนเลือดประจำเดือนที่ตกค้าง  ทำให้มีอาการปวดหลัง  ปวดเอว  ปวดก้านคอ  ชาปลายมือปลายเท้า  และมือเท้าเย็นชาไม่มีกำลัง  ใจหวิว  ใจสั่น  ขี้ร้อนขี้หนาว  เหงื่อออกง่าย  ประจำเดือนมาไม่ปกติ  มาไม่สม่ำเสมอ  เป็นลิ่มเป็นก้อน  มีสีแดงคล้ำจนดำ  และมีก้อนแข็งที่ขั้วมดลูก  กินของเย็นมีอาการร้อนคอและจุกอก  กินของเผ็ดร้อนทำให้มีอาการทุรนทุราย  กระสับกระส่ายไม่สบายตัว  นอนไม่หลับ  เบื่ออาหาร  ผอมแห้งแรงน้อย

 U52.3              มดลูกเคลื่อน
เป็นโรคที่เกิดกับมดลูก  หมายถึงมดลูกเคลื่อนไม่อยู่ที่เดิม  มดลูกตะแคงตัว  ลอยตัว  หรืออาจเกิดจากการยกของหนักในการมีประจำเดือนวันแรก  หรือหลังคลอดบุตรที่มดลูกยังไม่เข้าอู่  มี ๓ ชนิด คือ มดลูกด่ำ  มดลูกลอย  มดลูกตะแคง

U52.30             มดลูกด่ำ
ให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เวลาไอ  หัวเราะ  ยกของหนัก  ก้าวขึ้นลงบันใด  ปัสสาวะเล็ดหรือกะปริด     กะปรอย  เวลาจามปัสสาวะจะราด  กลั้นไม่อยู่  มีปวดหลังร้าวมาท้องน้อย

U52.31            มดลูกลอย
โบราณกล่าวว่าเกิดจากผู้หญิงหลังคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้  ทำให้มดลูกไม่เข้าอู่  หรือเข้าอู่ไม่สนิท  ให้มีอาการผายลมทางช่องคลอด  เวลาก้าวเดินจะเสียวช่องคลอด  ทำให้ปวดต้นคอ  ปวดหลังร้าวมาท้องน้อย  ไม่ทนร้อนไม่ทนหนาว  ใจหวิว  ใจสั่น  อ่อนเพลีย

U52.32            มดลูกตะแคง
อาการเริ่มเป็นแรกๆ จะปวดท้องน้อยมาก  ปวดจนตัวบิด  ให้รีบแก้ไข  ถ้าบิดตัวจะทำให้มดลูกเคลื่อน  อาการทั่วๆไปมีอาการปวดหลัง  ปวดเอว  ปวดกระเบนเหน็บ  ปวดเชิงกราน  ร้าวชาออกขา  เย็นปลายมือปลายเท้า  มีตกขาวไม่คัน  ไม่มีกลิ่น  ปวดท้องน้อย  มีอาการตึงคอ  ปวดศีรษะ

U52.39            มดลูกเคลื่อน, ไม่ระบุรายละเอียด

U52.4              คันช่องคลอด
มีอาการคันในช่องคลอด หรือปากช่องคลอด  ซึ่งอาจมีตกขาวร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

U52.5              สตรีวัยหมดประจำเดือน
ภาวะที่มีการเปลี่ยนวัยจากผู้ใหญ่ตอนปลายเข้าสู่วัยสูงอายุ  จะเริ่มตั้งแต่อายุ ๔๐ – ๔๕ ปี  เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศที่ลดลง  ส่งผลให้เพศหญิงหมดประจำเดือน  สภาพร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไป  คือมีอาการร้อนวูบวาบ  เหงื่อออกตอนกลางคืน  ที่ชาวบ้านเข้าใจว่าคือ “อาการเลือดจะไป ลมจะมา”  บางคนมีอาการนอนไม่ค่อยหลับ  เบื่ออาหาร  หงุดหงิดง่าย  ขี้น้อยใจ  ซึมเศร้า  รู้สึกสูญเสียความเป็นเพศแม่  หรือหมดความภาคภูมิใจในความเป็นผู้หญิง

U52.8              โรคและอาการอื่นของสตรี, ที่ระบุรายละเอียด

U52.9              โรคและอาการของสตรี, ไม่ระบุรายละเอียด


โรคของเด็ก
(U54 – U55)

U54                 โรคของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี

U54.0              ทารกสำรอก
กุมารกุมารีผู้ใดคลอดออกจากครรภ์มารดาแล้ว  แลกำเนิดอันจะเป็นเหตุที่จะให้บังเกิดโรคต่างๆนั้น คือ สำรอก ๗ ครั้ง  สำรอก หมายถึง การขย้อนเอาสิ่งที่กลืนลงไปออกมาทางปาก  ซึ่งมี ๔ ลักษณะ

  1. สำรอกออกมาสีเขียว
  2. สำรอกออกมาสีเหลือง
  3. สำรอกออกมาเป็นเสมหะ
  4. สำรอกออกมาเป็นเม็ดมะเขือ

U54.1              สำรอกทับทราง [ ซาง ]
เด็กเป็นไข้เพราะซางกระทำอยู่ก่อนแล้ว  คือ  มีอาการให้ท้องขึ้น  เท้าเย็นมือเย็น  อุจจาระเหม็นพิการ  ถูกสำรอกทับขึ้นมา  อาการกลับร้ายแรงขึ้น  คือ  ให้ลงท้อง  กระหายน้ำ  เชื่อมมัว  ปวดหัวตัวร้อน  ปลายมือปลายเท้าเย็น  สำรอกทับซาง(ทับสองโทษ) คือ ทารกเป็นซาง มีอาการท้องขึ้น มือเท้าเย็น  อุจจาระเหม็นผิดปกติ  แล้วมีสำรอกออกมาทับ(แทรก)  ทวีอาการร้ายแรงขึ้น  ให้ท้องเดิน  กระหายน้ำ  ปวดหัว  ตัวร้อน เชื่อมซึม  ปลายมือปลายเท้าเย็น
                                                                       
U54.2              ทราง [ ซาง ] ทับสำรอก
หนึ่งซางทับสำรอก  อาจารย์บอกไว้แจ้ง  สำรอกแห่งกุมารมีอาการสี่อย่าง  เหลืองเขียวบ้าง  เสมหะเป็นเม็ดมะเขือก็มี  ยังทวีด้วยซางแทรก  อาการแปลกต่อไป  ขึ้นคอไอนอนผวา  ไม่นำพาซึ่งนมข้าว  ตัวนั้นเล่าบางทีร้อน  บางทีผ่อนให้หนาว  แลบางคราวเป็นท่อนเย็น  แลร้อนไม่เหมือนกัน  หนึ่งตามันมักดูบน  ซางระคนกับสำรอก  อาการบอกจะแจ้งใจ

U54.3              กำเดาทับทราง [ ซาง ] และ ทราง [ ซาง ] ทับกำเดา
ทับกำเดา หรือ ซางทับกำเดา คือ ทารกมีไข้กำเดา  มีอาการไอ  ปวดหัว  ตัวร้อนดุจเปลวไฟ  ถอนใจใหญ่  หายใจสั้น  ปากคอแห้ง  สะดุ้งหวาดผวาอยู่ก่อน  ซางมาซ้ำโดยเกิดเม็ดในลำคอ  เบื่อข้าวน้ำ  ท้องขึ้นแข็ง  อาการแสดงเป็นสองโทษ

U54.4              ทราง [ ซาง ]
โรคของเด็กเล็ก (ต่ำกว่า ๕ ขวบ) มีอาการหลายอย่าง  เช่น  ไม่กินนม  ไม่กินข้าว  ไอ  อาเจียน  ปวดหัวตัวร้อน  เชื่อมซึม  มือเท้าเย็น  ท้องขึ้น  ท้องเดิน  กระหายน้ำ  ปากคอแห้ง  มีลักษณะสำคัญคือมีเม็ดขึ้นในปากในคอ  ลิ้นเป็นฝ้า  สาเหตุนั้นโบราณว่าเกิดจากวันเกิด  ได้แก่เกิดวันอาทิตย์เป็นซางไฟ  เกิดวันจันทร์เป็นซางน้ำ  เกิดวันอังคารเป็นซางแดง  เกิดวันพุธเป็นซางสะกอ  เกิดวันพฤหัสบดีเป็นซางโค  เกิดวันศุกร์เป็นซางช้าง  เกิดวันเสาร์เป็นซางโจร

 

U54.5              หละ
เป็นเม็ดเรียบขึ้นที่เหงือก และเพดานปากของเด็กเล็ก  มีสีต่างๆ

U54.6              ละออง
ลักษณะเป็นปุยหรือฝ้าสีขาวในปาก  ลำคอ  กระพุ้งแก้ม  หรือบนลิ้นของเด็ก

U54.7              ลมอุทรวาต หรือ ร้อง 3 เดือน
อุทรวาตมันตั้ง  ทารกยังอยู่ในครรภ์นั้น  ให้มารดาจุกเสียดหน้าแทงหลัง  ลมนี้ตั้งติดพัน  ออกจากครรภ์มารดา  อยู่ในนาภีนั้น  ลมสำคัญกองใหญ่  จับพัดไปในเส้น  ตามแถวเอ็นสันหลัง  ขึ้นไปยังกระหม่อม  เลี้ยงยากย่อมแสนเข็ญ  เวลาเย็นร้องไห้  อย่าห่อนได้ห่อนคลาย  สามเดือนหายหยุดเองให้โทษ

U54.8              โรคชนิดอื่นของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี, ที่ระบุรายละเอียด

U54.9              โรคของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี, ไม่ระบุรายละเอียด

 U55                โรคอื่นของเด็ก

U55.0               ตานขโมย
มักมีอาการเกิดขึ้นแก่เด็กอายุ ๕ – ๑๓ ขวบ  บริโภคอาหารอันไม่เคยบริโภค  ทำให้บังเกิดกิมิชาติ ๘๐ จำพวก  กินอยู่ตามที่ต่างๆ  หรือเกิดจากพยาธิ ๑๑ จำพวก  ทำให้ท้องเดิน  ลงท้อง  ธาตุวิปริต  อุจจาระเหม็นคาวจัด  และอุจจาระกะปริบกะปรอย  ชอบของแสลง  มักกินปลามากกว่าข้าว  ชอบของสดคาวต่างๆ  รับประทานอาหารไม่ค่อยจะได้  ต่อไปมักทำให้อุจจาระเป็นมูกเลือด  บางทีเลือดออกสดๆ  เป็นอยู่นานวัน  ทำให้เด็กซูบซีด  ผอมแห้งอ่อนเพลีย  กำลังน้อยลงไป  จนพุงโรก้นปอด  ศีรษะโต  มีหนังหุ้มกระดูก  ขี้อ้อน  นอนสะดุ้งหลับๆตื่นๆ  ขี้ขลาดมาก  ปกติได้ยินเสียงอะไรก็สะดุ้งตกใจ 

U55.1                       อัมพาตสมองในเด็ก
โรคอัมพาตที่เกิดจากความผิดปกติของสมองในวัยเด็ก

U55.8                       โรคชนิดอื่นของเด็ก, ที่ระบุรายละเอียด
                                ไม่รวม:                             โรคชนิดอื่นของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี, ที่ระบุรายละเอียด (U54.8)

U55.9                       โรคของเด็ก, ไม่ระบุรายละเอียด
                                ไม่รวม:                                 โรคของเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี, ไม่ระบุรายละเอียด (U54.9)

 

โรคที่เกิดอาการหลายระบบ
(U56 – U60)

U56                 ไข้

U56.0              โรคที่เกี่ยวกับไข้

U56.00            ไข้เหือด
ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้เชื่อมมัว  ให้ปวดศีรษะ  วันหนึ่ง  สองวัน  ผุดขึ้นมาเป็นผื่นปื้นหนาๆ  อาจขึ้นทั่วทั้งตัวได้  ถ้าหลบเข้าในท้องให้ลง  ลักษณะหัดเหือดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

 

U56.01                      ไข้หัด
ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้เชื่อมมัว  ให้ปวดศีรษะ  วันหนึ่ง  สองวัน  ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทรายให้ทั่วทั้งตัว  เป็นยอดแหลมๆ  ถ้าหลบเข้าในท้องให้ลง  ลักษณะหัดเหือดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

U56.02                      ไข้อีสุกอีใส หรือ ไข้สุกใส
เป็นไข้  ปวดศีรษะ  เบื่ออาหาร  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  เป็นไข้วันเดียวผื่นก็ขึ้น  เริ่มขึ้นตามตัวก่อน  ตามหน้าและแขนขาพบน้อย  ผื่นจะกลายเป็นตุ่ม  มีน้ำเหลืองภายใน  ต่อมาน้ำข้นเป็นหนอง  เม็ดสุกใสมักจะอยู่ในลักษณะต่างๆกัน  และจะตกสะเก็ดภายใน ๓ – ๔ วัน

U56.03                      ไข้งูสวัด หรือ ตวัด
บางทีให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้ปวดศีรษะ บางทีก็ไม่จับ  ผุดเป็นเม็ดทรายขึ้นมา  เป็นแถวขึ้นมา  มีสัณฐานดังงู  เม็ดพองๆ เป็นเงาหนองก็มี ถ้าผู้หญิงเป็นซ้าย ถ้าผู้ชายเป็นขวา และข้ามสันหลังไป รักษาไม่ได้  แต่พิษสงร้อนดังไฟจุด

U56.04                      ไข้เริมน้ำค้าง
ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้จับเชื่อมมัว  แล้วให้ปวดศีรษะ  แล้วให้ผุดขึ้นมาเป็นแผ่น  ขนาดนิ้วหนึ่ง  สองนิ้ว  สามนิ้ว  สี่นิ้ว  เป็นเหล่าๆกัน  น้ำใสเขาเรียกว่าเริมน้ำค้าง

U56.05                      ไข้เริมน้ำข้าว
ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้จับเชื่อมมัว  แล้วให้ปวดศีรษะ  แล้วให้ผุดขึ้นมาเป็นแผ่น  ขนาดนิ้วหนึ่ง  สองนิ้ว  สามนิ้ว  สี่นิ้ว  เป็นเหล่าๆกัน  น้ำขุ่นเขาเรียกว่าเริมน้ำข้าว

 
U56.06                      ไข้ออกผื่น
มีจุดแดงจ้ำเขียว  ผื่นแดง  ตุ่มใส  หรือตุ่มหนองขึ้นพร้อมกับมีอาการตัวร้อน

U56.1              โรคที่เกี่ยวกับไข้หวัด

                                U56.10                           ไข้หวัดน้อย
ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง  ระวิงระไว  ไอ  จาม  ให้น้ำมูกตก  ลักษณะอันนี้ไข้เพื่อหวัดน้อย  อันว่าคนไข้ทั้งหลายนั้นไม่กินยาก็หาย  ไม่อาบน้ำก็หาย  ใน ๓ วัน ๕ วัน

                                U56.11                           ไข้หวัดใหญ่
ให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว  ให้ปวดศีรษะ  ให้ไอ  ให้จาม  น้ำมูกตกเป็นกำลัง  ให้ตัวร้อน  ให้อาเจียน  ให้ปากแห้ง  ปากเปรี้ยว  ปากขม  กินข้าวไม่ได้  แล้วแปรไปให้ไอเป็นกำลัง  แลทำพิษคอแห้ง  ปากแห้ง  ฟันแห้ง  จมูกแห้ง  น้ำมูกแห้ง  บางทีกระทำให้น้ำมูกไหลหยดย้อย  เหตุดังนี้เพราะว่ามันสมองนั้นเหลวออกไปหยดออกจากนาสิกทั้งสองข้าง  ไปปะทะศอเสมหะ  จึงให้ไอไป  แก้มิฟังกลายเป็นริดสีดวงมองคร่อ  หืดไอ

U56.19                      ไข้หวัด, ไม่ระบุรายละเอียด

U56.2              โรคที่เกี่ยวกับไข้กำเดา

                                U56.20                           ไข้กำเดาน้อย
ให้ปวดศีรษะ  ให้จักษุแดง  ให้ตัวร้อนเป็นเปลว  ให้ไอ  สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ให้ปากขม  ปากเปรี้ยว  ปากกินข้าวไม่ได้  แลให้อาเจียน  ให้นอนไม่หลับ  ลักษณะดังนี้เป็นเพื่อไข้กำเดาน้อย

                                U56.21                           ไข้กำเดาใหญ่
ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง  ให้จักษุแดง  ให้ตัวร้อนเป็นเปลว  ให้ไอ  สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ให้ปากแห้ง  คอแห้ง  เพดานแห้ง  ฟันแห้ง  ให้เชื่อม  ให้มัว  ให้เมื่อยไปทั้งตัว  จับสะบัดร้อนสะท้านหนาวไม่เป็นเวลา  บางทีผุดขึ้นเป็นเม็ดเท่ายุงกัดทั้งตัว  แต่เม็ดนั้นยอดไม่มี  บางทีให้ไอเป็นโลหิตออกมาทางจมูกทางปาก  บางทีให้ชักมือกำเท้ากำ

                                U56.29                           ไข้กำเดา, ไม่ระบุรายละเอียด

 U56.3              โรคที่เกี่ยวกับไข้ประดง
ไข้ประดงที่เกิดแทรกในไข้พิษทั้ง ๘ ประการ  ท่านเรียกไข้ประดงทั้ง ๘  มีอาการรวมกันดังนี้  อาการทั่วไป  ให้จับมือเท้าเย็น  ตัวร้อนดังเปลวไฟ  ปวดศีรษะเป็นกำลัง  เมื่อยในกระดูก  เจ็บเสียวทั่วตัว  สะท้านร้อนสะท้านหนาว  เชื่อมมัว  เพ้อพกกลุ้มใจ  ให้ปากลิ้นแห้ง  ปากเปื่อย  ปากขม  หวาน  คอแห้ง  ร้อนใน  กระหายน้ำ  หอบสะอึก  มีลักษณะต่างกันที่ปรากฏเห็นได้ ๘ ชนิด  ได้แก่  ไข้ประดงมด  ไข้ประดงแรด  ไข้ประดงควาย  ไข้ประดงวัว  ไข้ประดงลิง  ไข้ประดงแมว  ไข้ประดงช้าง  ไข้ประดงไฟ

                                U56.30                           ไข้ประดงมด
                                                                       มีสัณฐานผุดขึ้นเป็นดังยุงกัดทั่วทั้งตัว  ให้คัน  ทำพิษสงให้แสบร้อน

                                U56.31                           ไข้ประดงแรด
                                                                                        ผุดขึ้นมามีสัณฐานแดงหนาดังหนังแรด  แล้วให้คล้ำดำเข้าเป็นเกล็ดเหมือนหนังแรด
                                                                                        ทำพิษสงให้ปวดแสบปวดร้อน

U56.32                      ไข้ประดงควาย
มีสัณฐานผุดขึ้นมาเหมือนเงาหนอง  ทำพิษสงให้ปวดแสบปวดร้อน

                                U56.33                           ไข้ประดงวัว
                                                                       มีสัณฐานดังผลมะยมสุก  ทำพิษสงให้ปวดแสบปวดร้อน

                                U56.34                           ไข้ประดงลิง
                                                                                        มีลักษณะผุดขึ้นมาดั่งเมล็ดข้าวสารคั่ว  ทำพิษสงให้ปวดแสบปวดร้อน  ขึ้นทั้งตัว
                                U56.35                           ไข้ประดงแมว
                                                                                         ผุดขึ้นมามีสัณฐานดังตาปลา  ทำพิษสงให้ปวดแสบปวดร้อน

U56.36                      ไข้ประดงช้าง
                           มีสัณฐานขึ้นเหมือนผิวมะกรูด  ทำพิษสงให้ปวดแสบปวดร้อน  ให้คัน

                                U56.37                           ไข้ประดงไฟ
ผุดขึ้นมามีสัณฐานเหมือนไข้ระบุชาดก็ดี  มียอดแดง  ยอดดำ  ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว  ให้เชื่อมมัว  กระหายน้ำเป็นกำลัง 

                                U56.38                           ไข้ประดงชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                U56.39                           ไข้ประดง, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 U56.4              โรคที่เกี่ยวกับไข้เอกโทษ
ไข้เอกโทษ  หมายถึง ไข้ที่มีอาการหรือโทษเพียงประการเดียว  เช่น  มีโลหิตเป็นพิษแต่เพียงอย่างเดียว  หรือมีลมอย่างเดียว  หรือมีเสมหะอย่างเดียว (เอก = หนึ่ง, เดียว + โทษ)  ท่านว่าอาการไม่รุนแรง  ลักษณะเช่นไข้เพื่อเอกโทษโลหิตให้ตัวร้อนจัด  ปวดศีรษะ  กระหายน้ำ  ปวดเมื่อยเนื้อตัว  ปัสสาวะเหลือง  ตัวแดง  ลิ้นกระด้าง  คางแข็ง  ฟันแห้ง  น้ำลายเหนียว  เป็นต้น

U56.40                      ไข้เพื่อเสมหะ
ไข้เพื่อเสลดให้อาเพศหนาวนักหนา  ขนชันทั่วกายา  จุกอุราแสยงขน  อาหารกินมิได้  ปากหวานไปเห็นพิกล  ฝ่าเท้าฝ่ามือตน  ขาวซีดเผือดจนมูลหนักเบา (ฝ่ามือฝ่าเท้าขาว  อุจจาระปัสสาวะก็ขาวด้วย)  ให้รากถอยอาหาร (อาเจียนและเบื่ออาหาร)  จับสะท้านให้เหม็นข้าว

                                U56.41                           ไข้เพื่อกำเดา
กำเดาสมุฏฐาน  เดือดฟุ้งซ่านจึงเป็นไป  เจ็บสูงเป็นกำลัง  ให้คลุ้มคลั่งดวงจิตไหว  ตัวร้อนดังเปลวไฟ  ตาเหลืองไปให้เบาแดง  รากเหลืองกระหายน้ำ  ปากขมซ้ำน้ำลายแห้ง  ผิวเนื้อแตกระแหง  ผิวหน้าแดงตัวเหลือง  ไปกลางคืนหลับไม่สนิท  จับดวงจิตเคลิ้มหลงใหล  น้ำตามักตกไป (น้ำตาไหล)  กำเดาให้โทษแลนา

                                U56.42                           ไข้เพื่อปิตตะ หรือ ไข้เพื่อดี
                                                                ไข้ใดให้นอนมาก  ให้ขมปาก  ให้เจ็บหัว  หรือให้เจ็บทั้งตัว

                                U56.43                           ไข้เพื่อวาตะ หรือ ไข้เพื่อลม
ไข้ใดทำให้กายนั้นดูเศร้าหมองดำ ไม่มีราศี ให้ไอแห้ง กระหายน้ำ ให้ฝาดปาก  หายใจขัดด้วยในท้องเป็นก้อน

                                U56.44                           ไข้เพื่อโลหิต
ย่อมทำพิษตัวร้อนกล้า  กระหายน้ำปวดศิรา  เจ็บกายาแทบทำลาย  เบาเหลืองผิวตัวแดง  ลิ้นคางแข็งฟันแห้งหาย  ปากแห้งเหนียวน้ำลาย  ธาตุภายในชักให้ลง

                                U56.48                           ไข้เอกโทษชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                U56.49                           ไข้เอกโทษ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U56.5              โรคที่เกี่ยวกับไข้ทุวันโทษ
ไข้ทุวันโทษ  หมายถึง ไข้ที่เกิดจากโทษ ๒ อย่าง  ได้แก่  ไข้ทุวันโทษลมและกำเดา  ไข้ทุวันโทษลมและเสมหะ  ไข้ทุวันโทษกำเดาและเสมหะ  ไข้ทุวันโทษกำเดาและโลหิต

                                U56.50                           ไข้เพื่อลมและกำเดา
จับหนาวสะท้านเล่า  ให้ร้อนเร่ากระหายชล  เหงื่อตกระส่ำระสาย  ไม่สบายในกายตน  วิงเวียนเป็นสลวน  ปวดสุดพ้นจะทนทาน

                                U56.51                           ไข้เพื่อลมและเสมหะ
จับหนาวแล้วร้อนมา วิงเวียนหน้า เหงื่อตกไหล ปวดหัวให้มัวตา อาหารกินมิได้  สองโทษหากเป็นไป  กำเริบไซร้ให้มีมา

                                U56.52                           ไข้เพื่อกำเดาและเสมหะ
สองนี้มีอาการหนาวสะท้านแสยงขน จุกอกหายใจขัด เหงื่อวิบัติตกทั้งตน ให้ร้อนอยู่สับสน ร้อนทั่วตนปวดศิรา

                                U56.53                           ไข้เพื่อกำเดาและโลหิต
ราตรีไม่นิทรา  ครั้นหลับตาหลงเพ้อไป  ปวดเศียรสุดจะทน  ให้สลวนในดวงใจ  กระหายน้ำให้ร้อนใน  อาหารไซร้ไม่นำพา

                                U56.58                           ไข้ทุวันโทษชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                U56.59                           ไข้ทุวันโทษ, ไม่ระบุรายละเอียด

U56.6                       ไข้ทับระดู หรือ ระดูทับไข้
สตรีที่เป็นไข้ทับระดูหรือระดูทับไข้นั้น  มูลเหตุก็เพราะว่าสตรีมีระดูมาแล้ว  และระหว่างระดูกำลังเดินอยู่นั้นเกิดเป็นไข้ขึ้น  หรือเป็นไข้อยู่แล้วเกิดมีระดูมา  ดังนี้เรียกว่าไข้ทับระดูหรือระดูทับไข้

 

U56.8                       ไข้ชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

U56.9                       ไข้, ไม่ระบุรายละเอียด

U57                          โรคที่เกี่ยวกับลม

U57.0                       ลมกองหยาบ หรือ ลมโอฬาริกวาตะ
                                ลมกองหยาบ  ถ้าพิการเมื่อใดย่อมให้จุกให้เสียด  ให้แน่นเฟ้อ  ให้ปวดท้อง  เป็นต้น

U57.1                       ลมกองละเอียด หรือ ลมสุขุมวาตะ
ลมที่ทำให้จับดวงใจอ่อน  หิวสวิงสวาย  เวียนศีรษะ  มืดหน้า  มืดตา

 

 U57.2              โรคที่เกี่ยวกับลมปลายปัตคาดแขนขา
                                U57.20                           ลมปลายปัตคาดบ่า
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดกับบ่า  ทำให้มีอาการปวดเสียวกล้ามเนื้อบริเวณบ่า

                                U57.21                           ลมปลายปัตคาดไหล่
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดกับไหล่  ทำให้มีอาการปวดเสียวกล้ามเนื้อบริเวณไหล่

                                U57.22                           ลมปลายปัตคาดแขน
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดกับแขน  ทำให้มีอาการปวดแขน

                                U57.23                           ลมปลายปัตคาดข้อศอก
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดกับข้อศอก  ทำให้มีอาการปวดที่ข้อศอกร้าวไปที่หัวไหล่  และปวดร้าวชาลงไปที่แขน  ข้อมือ  นิ้วมือ  เวลากำมือ  บิดมือ  คว่ำมือ  จะเจ็บที่ข้อศอก

                                U57.24                           ลมปลายปัตคาดข้อมือ
อาการปวดตึงและร้าวชาบริเวณข้อมือ  ฝ่ามือ  นิ้ว  และนิ้วมือไม่มีกำลัง  อาจใช้ข้อมือมาก  เกิดจากการแข็งตัวของเลือด  การคั่ง  การอั้นของเลือดที่บริเวณข้อมือ  เกิดจากความเสื่อมของกระดูกข้อมือและอุบัติเหตุบริเวณข้อมือ

                                U57.25                           ลมปลายปัตคาดข้อนิ้วมือ หรือ ลมปลายปัตคาดนิ้วไกปืน
โบราณเรียกลมปลายปัตคาดข้อนิ้วมือ  พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  พบบ่อยในวัยกลางคน  ให้มีอาการปวดบริเวณฝ่ามือ  โดยเฉพาะโคนข้อนิ้วอาจมีอาการอักเสบชัดเจน  มีปัญหานิ้วฝืด  เหยียดไม่ได้  มักเป็นตอนเช้า  เวลากำนิ้วมือจะกำไม่เข้า  หรือกำด้วยความยากลำบาก  จะฝืดมีเสียงดัง  เมื่อกำมือเข้ามาได้แล้วเวลาเหยียดนิ้วมือไม่ค่อยออก  บางคนอาจงอค้างและรู้สึกเจ็บมาก  ต้องใช้มืออีกข้างแกะออก  ถ้ามีอาการมากๆ จะเกิดภาวะนิ้วมือนั้นงอแข็งกำเหยียดไม่ได้  บางคนมีอาการปวดชาร่วมด้วย

                                U57.26                           ลมปลายปัตคาดขา
ภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่เป็นแข็งเป็นก้อนเป็นลำ มีอาการปวดตึง ร้าวชา บริเวณขา

                                U57.27                           ลมปลายปัตคาดส้นเท้า
อาการปวดส้นเท้าโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า  เวลาเดินจะเจ็บที่ส้นเท้า  อาการเป็นมากจะเจ็บตลอด เวลา  เดินกระเผลก  บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ขอบเท้าและเอ็นร้อยหวาย  สาเหตุเกิดจากการแข็งตัวของเลือด  การคั่ง  การอั้นของเลือดที่บริเวณส้นเท้า  มีพังผืดรัดบริเวณส้นเท้าหรือมีหินปูนเกาะ  เกิดจากการใช้เท้ามาก  เช่น  เดินมาก  เกิดจากการอักเสบบริเวณส้นเท้า  เช่น  จากการเล่นกีฬา  เกิดจากการเมื่อยของกระดูกส้นเท้า

                                U57.28                           ลมปลายปัตคาดแขนขาชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                U57.29                           ลมปลายปัตคาดแขนขา, ไม่ระบุรายละเอียด

 U57.3              โรคที่เกี่ยวกับลมปลายปัตคาดคอ, หลัง และที่อื่น

                                U57.30                           ลมปลายปัตคาดโค้งคอ
ให้คอแข็ง  ทรงศีรษะไม่อยู่  กล้ามเนื้อคอไม่มีกำลัง  ก้มหรือเงยหรือเอียงคอมีอาการตึง  ปวดต้นคอ  ปวดศีรษะ  ปวดกระบอกตา  ตากระตุก  หูอื้อ  อาจพบขัดยอกที่ข้อต่อหัวไหล่  หรือโรคหัวไหล่ติดร่วมด้วย  ปวดชาต้นแขน  ชาปลายนิ้ว
                                U57.31                           ลมปลายปัตคาดสัญญาณ 1 หลัง
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดบริเวณหลัง  ทำให้มีอาการปวดหลังบริเวณบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บ  อาจพบปวดเสียวร้าวชาไปที่สะโพก  ก้นย้อย  ลงมาถึงหัวเข่า  เวลาเดินเข่าเปลี้ย  เข่าทรุด  เข่าไม่มีกำลัง  ปวดใต้หัวเข่าก็ได้  แต่อาการปวดจะไม่เลยเข่า

                                U57.32                           ลมปลายปัตคาดสัญญาณ 3 หลัง
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดบริเวณหลัง  ทำให้มีอาการปวดหลัง  ร้าวชามาที่ขา  ปลีน่อง  ฝ่าเท้าและนิ้วเท้า  ทำให้ขาไม่มีแรง

                                U57.33                           ลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง / คอ
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดบริเวณหลัง  ทำให้มีอาการปวดตึงต้นคอ  กล้ามเนื้อบ่าและสะบัก  อาจพบอาการปวดร้าว  ชาแขนด้านนอกและนิ้วมือ  หายใจได้ไม่เต็มที่  ขัดยอกหน้าอก

                                U57.34                           ลมปลายปัตคาดสัญญาณ 5 หลัง / คอ
เป็นลมปลายปัตคาดที่เกิดบริเวณหลัง  ทำให้มีอาการมึนงง  เวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  ปวดกระบอกตา  ปวดต้นคอ  อาจพบร้าวชาออกแขนด้านใน

U57.38                           ลมปลายปัตคาดชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                                                ไม่รวม:                             ลมปลายปัตคาดแขนขา (U57.2-)

                           U57.39                           ลมปลายปัตคาด, ไม่ระบุรายละเอียด

 U57.4              โรคที่เกี่ยวกับลมปราบ
ลมปราบ  เป็นโรคทางโบราณ  ถือว่ามาจากลมเพลมพัดหรือถูกของ  และเป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ  พบได้ที่กล้ามเนื้อแขน  กล้ามเนื้อขา  กล้ามเนื้อหน้าอก  และกล้ามเนื้อสันหลัง  ให้มีอาการปวด  บวม  แดง  ร้อน  เจ็บเสียวแปล๊บๆ ตามกล้ามเนื้อนั้นๆ  จะเป็นมากและกำเริบภายใน ๓ วัน  คือจะมีอาการรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ  ถ้าหมอวินิจฉัยไม่ถูกต้อง  รักษาไม่ถูกกับโรคหรือไม่ได้รักษา  เมื่อยุบบวมแล้วกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นนั้นจะลีบเล็กลง  ปลายประสาทรับความรู้สึกร้อนเย็นจะเสียไป

                               U57.40                           ลมปราบแขน
อาการปวด  บวม  แดง  ร้อน  เจ็บเสียวแปล๊บๆ ตามกล้ามเนื้อแขน  พออาการทุเลาลงหรือรักษาไม่ถูกต้อง  กล้ามเนื้อแขนจะลีบเล็กลง  จะแข็งเป็นไต  ปลายประสาทรับความรู้สึกร้อนเย็นจะเสียไป

                                U57.41                           ลมปราบขา
อาการปวด  บวม  แดง  ร้อน  เจ็บเสียวแปล๊บๆ ตามกล้ามเนื้อขา  พออาการทุเลาลงหรือรักษาไม่ถูกต้อง  กล้ามเนื้อขาจะลีบเล็กลง  จะแข็งเป็นไต  ปลายประสาทรับความรู้สึกร้อนเย็นจะเสียไป

                                U57.42                           ลมปราบหน้าอก
อาการปวด  บวม  แดง  ร้อน  เจ็บเสียวแปล๊บๆ ตามกล้ามเนื้อหน้าอก  พออาการทุเลาลงหรือรักษาไม่ถูกต้อง  กล้ามเนื้อหน้าอกจะลีบเล็กลง  จะแข็งเป็นไต  ปลายประสาทรับความรู้สึกร้อนเย็นจะเสียไป

                                U57.43                           ลมปราบหลัง
อาการปวด  บวม  แดง  ร้อน  เจ็บเสียวแปล๊บๆ ตามกล้ามเนื้อหลัง  พออาการทุเลาลงหรือรักษาไม่ถูกต้อง  กล้ามเนื้อหลังจะลีบเล็กลง  เรียบแบน  ไม่มีกล้ามเนื้อเป็นสันขึ้นให้เห็น  ปลายประสาทรับความรู้สึกจะเสียไป

                                U57.49                           ลมปราบ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U57.5              โรคที่เกี่ยวกับลมจับโปง
ลมจับโปง  เป็นโรคในตระกูลลมชนิดหนึ่ง  เกิดจากอาหาร  อากาศ  น้ำ (น้ำมึนเมา)  และเป็นเฉพาะข้อเข่ากับข้อเท้าเท่านั้น  ลมจับโปงมี ๒ ชนิด  ได้แก่  ลมจับโปงน้ำ  และลมจับโปงแห้ง

                                U57.50                           ลมจับโปงน้ำเข่า
ให้มีอาการปวด  บวม  แดง  ร้อนที่เข่ามาก  และเป็นทั้งข้อเข่า  มีน้ำในเข่า  บางคนอาจมีอาการไข้  เรียกว่าไข้ลมจับโปง

                                U57.51                           ลมจับโปงน้ำข้อเท้า
       ให้มีอาการปวด  บวม  แดง  ร้อนที่ข้อเท้ามาก  และเป็นทั้งข้อเท้า  มีน้ำในข้อเท้า  บางคนอาจมีอาการไข้  เรียกว่าไข้ลมจับโปง

                                U57.52                           ลมจับโปงน้ำ, ไม่ระบุรายละเอียด

                                U57.53                           ลมจับโปงแห้งเข่า
ให้มีอาการปวด  บวม  แดง  ร้อนที่เข่าเพียงเล็กน้อย  แต่จะมีสภาวะเข่าติดขาโก่ง  นั่งยองๆไม่ได้  ขณะเดินในเข่าจะมีเสียงดังกร๊อบแก๊รบ  อาการปวดมากเวลาเปลี่ยนอิริยาบถและก้าวขึ้นบันได

                                U57.54                           ลมจับโปงแห้งข้อเท้า
       ให้มีอาการปวด  บวม  แดง  ร้อนเล็กน้อยบริเวณข้อเท้า อาจพบข้อเท้าติดและมีเสียงดังเวลาเดิน

                                U57.55                           ลมจับโปงแห้ง, ไม่ระบุรายละเอียด

                                U57.59                           ลมจับโปง, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 U57.6              โรคที่เกี่ยวกับลมลำบอง
ลมลำบอง  เป็นโรคในตระกูลของลมชนิดหนึ่ง  เกิดจากอาหารและอากาศ  มักจะเกิดเป็นกับตัวกระดูกและหัวข้อต่อกระดูกทั่วร่างกาย  ให้มีอาการปวด  บวม  แดง  ร้อนปรากฏให้เห็น  ลักษณะอาการทั่วไปจะคล้ายกับลมจับโปง  ถ้าเกิดที่ข้อเข่าและข้อเท้าจะเป็นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของข้อเท่านั้น  ถ้ามีอาการปวดมากคนไข้อาจมีอาการจับไข้ร่วมด้วยก็ได้  ซึ่งเรียกว่าไข้ลมลำบอง  และลักษณะอาการบวมจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามตำแหน่งข้อที่บวมนั้น

                                U57.60                           ลมลำบองข้อศอก
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อศอก และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.61                           ลมลำบองข้อมือ
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อมือ  และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.62                           ลมลำบองเข่า
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณเข่า  และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.63                           ลมลำบองข้อเท้า
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อเท้า  และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.64                           ลมลำบองข้อกระดูกสันหลัง หรือ ลมลำบองข้อไม้ไผ่
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อกระดูกสันหลัง และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.65                           ลมลำบองสัญญาณ 1 หลัง
อาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณหลัง และมีอาการปวดเสียวร้าวชาไปที่สะโพก  ก้นย้อย  ลงมาถึงหัวเข่า  เวลาเดินเข่าเปลี้ย  ไม่มีกำลัง  และอาการปวดจะไม่เลยเข่า

                                U57.66                           ลมลำบองสัญญาณ 3 หลัง
อาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณหลัง  และร้าวชามาที่ขา  ปลีน่อง  ฝ่าเท้า  และนิ้วเท้า

                                U57.67                           ลมลำบองสัญญาณ 4 หลัง / คอ
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณสัญญาณ ๔ หลัง  และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.68                           ลมลำบองสัญญาณ 5 หลัง / คอ
อาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณสัญญาณ ๕ หลัง  และจะมีน้ำชนิดข้นๆ เป็นเมือกเกาะอยู่ตามบริเวณตำแหน่งที่บวมนั้น

                                U57.69                           ลมลำบอง, ไม่ระบุรายละเอียด

U57.8                       โรคที่เกี่ยวกับลมชนิดอื่น

U57.9                       โรคที่เกี่ยวกับลม, ไม่ระบุรายละเอียด

 U58                     โรคที่เกี่ยวกับธาตุพิการตามฤดู
                                                ไม่รวม :                  ธาตุพิการที่เกิดนอกฤดู  และที่ไม่ระบุว่าเป็นธาตุพิการตามฤดู (U59.-)

 U58.0              ปถวีธาตุพิการตามฤดู  กลุ่มที่หนึ่ง
ปถวีธาตุพิการตามฤดู  เป็นสันนิบาตฤดู  นอนผิดเวลา  ปถวีธาตุกำเริบ  ถ้าเจ็บป่วยในเดือน ๒, ๓, ๔  ไข้ใน ๓ เดือนนี้เรียกว่า ปถวีธาตุพิการตามฤดู  หากเกิดนอกเหนือจากเดือน ๒, ๓, ๔ เรียกว่า ปถวีธาตุพิการ (ธาตุดินพิการ)  มี ๒๐ จำพวก  อันได้แก่  เกศาพิการ (ผมพิการ)  โลมาพิการ  นขาพิการ  ทันตาพิการ  ตะโจพิการ  มังสังพิการ  นหารูพิการ  อัฏฐิพิการ  อัฏฐิมิญชังพิการ  วักกังพิการ  หทยังพิการ  ยกนังพิการ  กิโลมกังพิการ  ปิหกังพิการ  ปัปผาสังพิการ  อันตังพิการ  อันตคุณังพิการ  อุทริยังพิการ  กรีสังพิการ  มัตถเกมัตถลุงคังพิการ   
                                 
U58.00                      เกศาพิการ หรือ ผมพิการ
                                                                ให้เจ็บสมอง  ศีรษะ  ให้ชา  ให้ผมร่วง
                                               
                                U58.01                           โลมาพิการ หรือ ขนพิการ
                                                                             ให้เจ็บทุกเส้นขนทั่วสรรพางค์กาย

                                U58.02                           นขาพิการ หรือ เล็บพิการ
ให้ต้นเล็บเจ็บช้ำดำเขียว  บางทีให้ฟกบวม  คือเป็นตะมอยหัวเดือน  กลางเดือน  บางทีให้เจ็บช้ำเลือดช้ำหนอง  ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง

                                U58.03                           ทันตาพิการ หรือ ฟันพิการ
ให้เจ็บปวด  ฟกบวมเป็นกำลัง  ถึงฟันหลุดแล้วก็ดี  มักเป็นไปตามประเพณีสังสารวัฏ  ให้เจ็บฟันแลไรฟันแลไรเหงือกตลอดสมอง  ถ้าฟันยังมิหลุดมิถอนก็ให้แก้ตามกระบวนรำมะนาดนั้นเถิด

                                U58.04                           ตะโจพิการ หรือ หนังพิการ
มักให้ร้อนผิวหนังทั่วสรรพางค์กาย  บางทีให้เป็นผื่นขึ้นทั้งตัวดุจหัวผด  ให้ปวดแสบปวดร้อนเป็นกำลัง

                                U58.05                           มังสังพิการ หรือ เนื้อพิการ
มักให้เสียวซ่านไปทั้งตัว  มักให้ฟกขึ้นที่นั่นบวมขึ้นที่นี้  ให้เป็นพิษเป็นสง  บางทีให้ร้อนดังไฟลวก  บางทีให้ฟกขึ้นดังประกายดาดประกายเพลิง

                                U58.06                           นหารูพิการ หรือ เส้นเอ็นพิการ
ให้เส้นประธาน ๑๐ เส้น  แลเส้นบริวาร ๒๗๐๐ เส้น  ให้หวาดหวั่นไหวไปสิ้นทั้งนั้น  ที่กล้าก็กล้า  ที่แข็งก็แข็ง  ที่ตั้งดานก็ตั้งดาน  ที่ขอดก็ขอด  เข้าเป็นก้อนเป็นเถาไป  ที่จะเป็นโทษหนักนั้น แต่เส้นเอ็นอันชื่อว่าสุมนา  แลอัมพฤกษ์  เส้นสุมนานั้นผูกดวงใจ  มีแต่จะให้สวิงสวายทุรนทุรายหิวโหยหาแรงมิได้  อันว่าเส้นอัมพฤกษ์นั้นมีแต่จะให้กระสับกระส่าย  ให้ร้อนให้เย็น  ให้เมื่อยให้เสียวไปทุกเส้นทุกเอ็นทั่วทั้งตัว  ตั้งแต่ศีรษะตลอดลงไปถึงที่สุดจนเท้า  บางทีให้เจ็บเป็นเวลา  แต่เส้นอัมพฤกษ์นั้นให้โทษ ๑๑ ประการ  ถ้าให้โทษพร้อมกันทั้ง ๒๗๐๐ เส้นแล้วก็ตายแล  ถ้าเป็นแต่ ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕ เส้นยังแก้ได้

                               
 U58.1              ปถวีธาตุพิการตามฤดู  กลุ่มที่สอง
                               
U58.10                      อัฏฐิพิการ หรือ กระดูกพิการ
ให้เมื่อยในข้อในกระดูก

                                U58.11                           อัฏฐมิญชังพิการ หรือ เยื่อในกระดูกพิการ
ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง

                                U58.12                           วักกังพิการ หรือ ม้ามพิการ
ให้ม้ามหย่อนมักเป็นป้างแล

U58.13                      หทยังพิการ หรือ หัวใจพิการ
ให้คลั่งไคล้ดุจเป็นบ้า  ถ้ามิดังนั้นให้หิวโหยหาแรงมิได้  ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก
                                               
                                U58.14                           ยกนังพิการ หรือ ตับพิการ
ให้ตับโตตับทรุด  มักเป็นฝีในตับ  กาฬขึ้นในตับ

                                U58.15                           กิโลมกังพิการ หรือ พังผืดพิการ
ให้เจ็บให้จุกเสียด  ให้อาเจียน  ให้แดกขึ้นแดกลง  กลายเป็นลม

                                U58.16                           ปิหกังพิการ หรือ ไตพิการ
บางทีผุดขึ้นเป็นสีแดงสีเขียวทั้งตัว  บางทีเป็นลมพิษ  สมมุติว่าเป็นประดง  เป็นเหือดเป็นหัดต่างๆ                            
 U58.2              ปถวีธาตุพิการตามฤดู  กลุ่มที่สาม
                               
                                U58.20                           ปัปผาสังพิการ หรือ ปอดพิการ
ให้เจ็บปอด  ให้เป็นพิษ  ให้กระหายน้ำเป็นกำลัง  กินน้ำจนปอดลอยจึงหายอยาก

                                U58.21                           อันตังพิการ หรือ ลำไส้ใหญ่พิการ
ให้พะอืดพะอม  ให้ท้องขึ้นท้องพอง  มักเป็นท้องมานลมกษัย  บางทีให้ลงท้อง  ตกมูกตกโลหิต  ให้เป็นไปต่างๆ

U58.22                      อันตคุณังพิการ หรือ ลำไส้น้อยพิการ
ให้สะอึก  ให้หาว  ให้เรอ

                                U58.23                           อุทริยังพิการ หรือ อาหารใหม่พิการ
ให้ลงแดงให้ราก  มักเป็นป่วง ๗ จำพวก

                                U58.24                           กรีสังพิการ หรือ อาหารเก่าพิการ
กินอาหารไม่มีรส  เป็นต้นที่จะให้เกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารผิดสำแดง

                                U58.25                           มัตถเกมัตถลุงคังพิการ หรือ เยื่อในสมองพิการ
เมื่ออยู่ดีเป็นปกตินั้นสมองศีรษะเรา  ท่านทั้งปวงนี้พร่องจากกระบาลศีรษะประมาณเส้นตอกใหญ่ๆ  ถ้าเจ็บ ปวดพิการไซร้มันในสมองก็เดือดขึ้นเต็มกระบาลศีรษะ  ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง  แก้มิฟังให้นัยน์ตาแดง  ให้คลั่ง  เรียกว่า “สันนิบาต”

                                                U58.29                           ปถวีธาตุพิการตามฤดู, ไม่ระบุรายละเอียด

 U58.3              อาโปธาตุพิการตามฤดู  กลุ่มที่หนึ่ง
เดือน ๑๑-๑๒-๑ ทั้ง ๓ เดือนนี้เป็นเหมันตฤดู  มักกินอาหารผิดสำแดง (สำแลง) (ของแสลงที่ทำให้โรคกำเริบ)  อาโปธาตุพิการมี ๑๒ จำพวก  ได้แก่  ปิตตังพิการ (ดีพิการ)  เสมหะพิการ (เสมหะ)  บุปโพพิการ (หนองพิการ)  โลหิตพิการ (โลหิต)  เสโทพิการ (เหงื่อพิการ)  เมโทพิการ (มันข้นพิการ)  อัสสุพิการ (น้ำตาพิการ)  วสาพิการ (มันเหลวพิการ)  เขโฬพิการ (น้ำลายพิการ)     สิงคานิกาพิการ (น้ำมูกพิการ)  ลสิกาพิการ (ไขข้อพิการ)  มุตตังพิการ (ปัสสาวะพิการ)

                                U58.30                           ปิตตังพิการ หรือ ดีพิการ
มักให้ขึ้งโกรธ  มักให้สะดุ้งตกใจ  ให้หวาด

                                U58.31                           เสมหะพิการ
กินอาหารไม่รู้จักรส

                                U58.32                           บุปโพพิการ หรือ หนองพิการ
มักให้ไอเป็นโลหิต

                                U58.33                           โลหิตพิการ
มักให้เพ้อพก  ให้ร้อน

                                U58.34                           เสโทพิการ หรือ เหงื่อพิการ
มักให้ซูบผอม

                                U58.35                           เมโทพิการ หรือ มันข้นพิการ
มักให้ปวดศีรษะ  ให้เจ็บตา  ให้ขาสั่นไป

 

 U58.4              อาโปธาตุพิการตามฤดู  กลุ่มที่สอง

                                U58.40                           อัสสุพิการ หรือ น้ำตาพิการ   
                                                                                            มักให้ตามัวและน้ำตาตกนักแล้วแห้งไป  ดวงตานั้นเป็นดังเยื่อลำไย

                                U58.41                           วสาพิการ หรือ มันเหลวพิการ
ให้แล่นออกทั่วตัว  ให้นัยน์ตาเหลืองตัวเหลือง  มูตรและคูถเหลือง  ลางทีให้ลง  ให้อาเจียน  กลายเป็นลมป่วง

                                U58.42                           เขโฬพิการ หรือ น้ำลายพิการ
ให้ปากเปื่อย  คอเปื่อย  น้ำลายเหนียว  บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในลิ้นในคอ  ทำพิษต่างๆ

                                U58.43                           สิงคานิกาพิการ หรือ น้ำมูกพิการ
ให้ปวดในสมอง  ให้น้ำมูกไหล  ตามัว  ปวดศีรษะ  ให้วิงเวียนศีรษะ

                                U58.44                           ลสิกาพิการ หรือ ไขข้อพิการ
อันว่าไขข้อนี้อยู่ในกระดูก  มักกระทำให้เมื่อยในข้อในกระดูกดุจดังว่าจะคลาดออกจากกัน  ให้ขัดตึงทุกข้อ

                                U58.45                           มุตตังพิการ หรือ ปัสสาวะพิการ
ให้ปัสสาวะแดงและขัดปัสสาวะ  ปัสสาวะเป็นโลหิต  เจ็บปวดเป็นกำลัง

                                U58.49                           อาโปธาตุพิการตามฤดู, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 

 

 U58.5              วาโยธาตุพิการตามฤดู
เดือน ๘-๙-๑๐ ทั้ง ๓ เดือนนี้เป็นวสันตฤดู  ว่าด้วยวาโยธาตุชื่อกุจฉิสยาวาตาพิการ  ให้ผอมเหลือง  ให้เมื่อยทุกข้อทุกลำทั่วสรรพางค์กาย  ให้แดกขึ้นแดกลง (แน่นขึ้นแน่นลง)  ให้ลั่นโครกๆ  ให้หาวเรอ  วิงเวียนหน้าตา  หูหนัก  มักให้ร้อนในอกในใจ  ให้ระทดระทวย  ย่อมให้หายใจสั้น  ย่อมให้เหม็นปากแลให้หวานปาก  มักให้โลหิตออกทางจมูกทางปาก  กินอาหารไม่รู้จักรส  คือวาโยธาตุพิการ

 U58.6              เตโชธาตุพิการตามฤดู
กำหนดเดือน ๕-๖-๗ ทั้ง ๓ เดือน  เป็นคิมหันตฤดูนี้  ว่าด้วยเตโชธาตุชื่อว่าสันตัปปัคคีพิการ  ให้เย็นในอก  ให้วิงเวียนในอก  มักให้กินอาหารถอย  ถ้าบริโภคอาหารอิ่มมักให้จุกเสียดขัดในอก  อาหารมักพลันแหลก  มิได้อยู่ท้อง  ให้อยากบ่อยๆ  จึงให้เกิดลม ๖ จำพวก  ได้แก่  อุทรันตวาต  อุรปักขรันตวาต  อัสสาสวาต  ปัสสาสวาต  อนุวาต  หัสกวาต

                                U58.60                           อุทรันตวาต
พัดแต่สะดือถึงลำคอ
                                               
                                U58.61                           อุรปักขรันตวาต
พัดให้ขัดแต่อกถึงลำคอ

                                U58.62                           อัสสาสวาต
พัดให้นาสิกตึง

                                U58.63                           ปัสสาสวาต
พัดให้หายใจขัดอก

                                U58.64                           อนุวาต
พัดให้หายใจขัดไป  คือว่าเป็นลมจับให้นิ่งไป

                                U58.65                           หัสกวาต
ลมมหาสดมภ์  แลลม ๖

                                U58.69                           เตโชธาตุพิการตามฤดู, ไม่ระบุรายละเอียด

 U58.9              โรคที่เกี่ยวกับธาตุพิการตามฤดู, ไม่ระบุรายละเอียด

 U59                    โรคที่เกี่ยวกับธาตุพิการ
สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลายเสียไปจากสภาพเดิม หรือทำงานไม่ปกติโดยทั่วๆ ไปเชื่อว่าร่างกาย
ของสิ่งทั้งหลายมี ๔ ธาตุ ได้แก่  ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุลม  ธาตุไฟ

                                      ไม่รวม :  ธาตุพิการตามฤดู (U58.-)

 U59.0              ธาตุดินพิการ  กลุ่มที่หนึ่ง
การเจ็บป่วยที่เกิดจากธาตุดินพิการหรือมีการทำงานไม่ปกติ  มี  ๒๐  จำพวก ได้แก่  เกศาพิการ( ผมพิการ)  โลมาพิการ     นขาพิการ  ทันตาพิการ  ตะโจพิการ  มังสังพิการ  นหารูพิการ  อัฏฐิพิการ  อัฏฐิมิญชังพิการ  วักกังพิการ  หทยังพิการ    ยกนังพิการ  กิโลมกังพิการ  ปิหกังพิการ  ปัปผาสังพิการ  อันตังพิการ  อันตคุณังพิการ  อุทริยังพิการ  กรีสังพิการ              มัตถเกมัตถลุงคังพิการ   

U59.00                     เกศาพิการ หรือ ผมพิการ
                                                                ให้เจ็บสมอง  ศีรษะ  ให้ชา  ให้ผมร่วง
                                               
                                U59.01                           โลมาพิการ หรือ ขนพิการ
                                                                             ให้เจ็บทุกเส้นขนทั่วสรรพางค์กาย

                                U59.02                           นขาพิการ หรือ เล็บพิการ
ให้ต้นเล็บเจ็บช้ำดำเขียว  บางทีให้ฟกบวม  คือเป็นตะมอยหัวเดือน  กลางเดือน  บางทีให้เจ็บช้ำเลือดช้ำหนอง  ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง

                                U59.03                           ทันตาพิการ หรือ ฟันพิการ
ให้เจ็บปวด  ฟกบวมเป็นกำลัง  ถึงฟันหลุดแล้วก็ดี  มักเป็นไปตามประเพณีสังสารวัฏ  ให้เจ็บฟันแลไรฟันแลไรเหงือกตลอดสมอง  ถ้าฟันยังมิหลุดมิถอนก็ให้แก้ตามกระบวนรำมะนาดนั้นเถิด

                                U59.04                           ตะโจพิการ หรือ หนังพิการ
มักให้ร้อนผิวหนังทั่วสรรพางค์กาย  บางทีให้เป็นผื่นขึ้นทั้งตัวดุจหัวผด  ให้ปวดแสบปวดร้อนเป็นกำลัง

                                U59.05                           มังสังพิการ หรือ เนื้อพิการ

มักให้เสียวซ่านไปทั้งตัว  มักให้ฟกขึ้นที่นั่นบวมขึ้นที่นี้  ให้เป็นพิษเป็นสง  บางทีให้ร้อนดังไฟลวก  บางทีให้ฟกขึ้นดังประกายดาดประกายเพลิง

                                U59.06                           นหารูพิการ หรือ เส้นเอ็นพิการ
ให้เส้นประธาน ๑๐ เส้น  แลเส้นบริวาร ๒๗๐๐ เส้น  ให้หวาดหวั่นไหวไปสิ้นทั้งนั้น  ที่กล้าก็กล้า  ที่แข็งก็แข็ง  ที่ตั้งดานก็ตั้งดาน  ที่ขอดก็ขอด  เข้าเป็นก้อนเป็นเถาไป  ที่จะเป็นโทษหนักนั้น แต่เส้นเอ็นอันชื่อว่าสุมนา  แลอัมพฤกษ์  เส้นสุมนานั้นผูกดวงใจ  มีแต่จะให้สวิงสวายทุรนทุรายหิวโหยหาแรงมิได้  อันว่าเส้นอัมพฤกษ์นั้นมีแต่จะให้กระสับกระส่าย  ให้ร้อนให้เย็น  ให้เมื่อยให้เสียวไปทุกเส้นทุกเอ็นทั่วทั้งตัว  ตั้งแต่ศีรษะตลอดลงไปถึงที่สุดจนเท้า  บางทีให้เจ็บเป็นเวลา  แต่เส้นอัมพฤกษ์นั้นให้โทษ ๑๑ ประการ  ถ้าให้โทษพร้อมกันทั้ง ๒๗๐๐ เส้นแล้วก็ตายแล  ถ้าเป็นแต่ ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕ เส้นยังแก้ได้

 U59.1              ธาตุดินพิการ กลุ่มที่สอง
                               

                                U59.10                           อัฏฐิพิการ หรือ กระดูกพิการ
                                                                                       ให้เมื่อยในข้อในกระดูก

                                U59.11                           อัฏฐมิญชังพิการ หรือ เยื่อในกระดูกพิการ
ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง

                                U59.12                           วักกังพิการ หรือ ม้ามพิการ
ให้ม้ามหย่อนมักเป็นป้างแล
U59.13                     หทยังพิการ หรือ หัวใจพิการ
ให้คลั่งไคล้ดุจเป็นบ้า  ถ้ามิดังนั้นให้หิวโหยหาแรงมิได้  ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก
                                               
                                U59.14                           ยกนังพิการ หรือ ตับพิการ
ให้ตับโตตับทรุด  มักเป็นฝีในตับ  กาฬขึ้นในตับ

                                U59.15                           กิโลมกังพิการ หรือ พังผืดพิการ
ให้เจ็บให้จุกเสียด  ให้อาเจียน  ให้แดกขึ้นแดกลง  กลายเป็นลม

                                U59.16                           ปิหกังพิการ หรือ ไตพิการ
บางทีผุดขึ้นเป็นสีแดงสีเขียวทั้งตัว  บางทีเป็นลมพิษ  สมมุติว่าเป็นประดง  เป็นเหือดเป็นหัดต่างๆ

 U59.2              ธาตุดินพิการ กลุ่มที่สาม
                                U59.20                           ปัปผาสังพิการ หรือ ปอดพิการ
ให้เจ็บปอด  ให้เป็นพิษ  ให้กระหายน้ำเป็นกำลัง  กินน้ำจนปอดลอยจึงหายอยาก

                                U59.21                           อันตังพิการ หรือ ลำไส้ใหญ่พิการ
ให้พะอืดพะอม  ให้ท้องขึ้นท้องพอง  มักเป็นท้องมานลมกษัย  บางทีให้ลงท้อง  ตกมูกตกโลหิต  ให้เป็นไปต่างๆ

U59.22                      อันตคุณังพิการ หรือ ลำไส้น้อยพิการ
ให้สะอึก  ให้หาว  ให้เรอ

                                U59.23                           อุทริยังพิการ หรือ อาหารใหม่พิการ
ให้ลงแดงให้ราก  มักเป็นป่วง ๗ จำพวก

                                U59.24                           กรีสังพิการ หรือ อาหารเก่าพิการ
กินอาหารไม่มีรส  เป็นต้นที่จะให้เกิดโรคต่างๆ เพราะอาหารผิดสำแดง

                                U59.25                           มัตถเกมัตถลุงคังพิการ หรือ เยื่อในสมองพิการ
เมื่ออยู่ดีเป็นปกตินั้นสมองศีรษะเรา  ท่านทั้งปวงนี้พร่องจากกระบาลศีรษะประมาณเส้นตอกใหญ่ๆ  ถ้าเจ็บ ปวดพิการไซร้มันในสมองก็เดือดขึ้นเต็มกระบาลศีรษะ  ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง  แก้มิฟังให้นัยน์ตาแดง  ให้คลั่ง  เรียกว่า “สันนิบาต”

                                      U59.29                           ธาตุดินพิการ, ไม่ระบุรายละเอียด
           
 U59.3              ธาตุน้ำพิการ  กลุ่มที่หนึ่ง
การเจ็บป่วยที่เกิดจากธาตุน้ำพิการหรือมีการทำงานไม่ปกติ  มี ๑๒ จำพวก  ได้แก่  ปิตตังพิการ  เสมหะพิการ  บุปโพพิการ      โลหิตพิการ  เสโทพิการ  เมโทพิการ  อัสสุพิการ  วสาพิการ  เขโฬพิการ  สิงคานิกาพิการ  ลสิกาพิการ  มุตตังพิการ

U59.30                      ปิตตังพิการ หรือ ดีพิการ
มักให้ขึ้งโกรธ  มักให้สะดุ้งตกใจ  ให้หวาด

                                U59.31                           เสมหะพิการ
กินอาหารไม่รู้จักรส

                                U59.32                           บุปโพพิการ หรือ หนองพิการ
มักให้ไอเป็นโลหิต

                                U59.33                           โลหิตพิการ
มักให้เพ้อพก  ให้ร้อน

                                U59.34                           เสโทพิการ หรือ เหงื่อพิการ
มักให้ซูบผอม

                                U59.35                           เมโทพิการ หรือ มันข้นพิการ
มักให้ปวดศีรษะ  ให้เจ็บตา  ให้ขาสั่นไป

 U59.4              ธาตุน้ำพิการ  กลุ่มที่สอง

                                U59.40                           อัสสุพิการ หรือ น้ำตาพิการ   
                                                                                            มักให้ตามัวและน้ำตาตกนักแล้วแห้งไป  ดวงตานั้นเป็นดังเยื่อลำไย

                                U59.41                           วสาพิการ หรือ มันเหลวพิการ
ให้แล่นออกทั่วตัว  ให้นัยน์ตาเหลืองตัวเหลือง  มูตรและคูถเหลือง  ลางทีให้ลง  ให้อาเจียน  กลายเป็นลมป่วง

                                U59.42                           เขโฬพิการ หรือ น้ำลายพิการ
ให้ปากเปื่อย  คอเปื่อย  น้ำลายเหนียว  บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในลิ้นในคอ  ทำพิษต่างๆ

                                U59.43                           สิงคานิกาพิการ หรือ น้ำมูกพิการ
ให้ปวดในสมอง  ให้น้ำมูกไหล  ตามัว  ปวดศีรษะ  ให้วิงเวียนศีรษะ

                                U59.44                           ลสิกาพิการ หรือ ไขข้อพิการ
อันว่าไขข้อนี้อยู่ในกระดูก  มักกระทำให้เมื่อยในข้อในกระดูกดุจดังว่าจะคลาดออกจากกัน  ให้ขัดตึงทุกข้อ

                                U59.45                           มุตตังพิการ หรือ ปัสสาวะพิการ
ให้ปัสสาวะแดงและขัดปัสสาวะ  ปัสสาวะเป็นโลหิต  เจ็บปวดเป็นกำลัง

                                U59.49                           ธาตุน้ำพิการ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U59.5              ธาตุลมพิการ 
การเจ็บป่วยที่เกิดจากธาตุลมพิการหรือมีการทำงานไม่ปกติ  มี ๖ จำพวก  ได้แก่  กุจฉิสยาวาตาพิการ  โกฎฐาสยาวาตาพิการ         
อุทธังคมาวาตาพิการ  อโธคมาวาตาพิการ  อังคมังคานุสาวารีมาตา  อัสสาสะปัสสาสะวาตา

                          U59.50                    กุจฉิสยาวาตาพิการ  
ให้เจ็บท้อง ให้ท้องขึ้นท้องพอง   ให้ลั่นอยู่จ๊อกๆ ให้เจ็บในอก ให้สวิงสวาย  ให้เจ็บแดกขึ้นแดกลง

U59.51                  โกฎฐาสยาวาตาพิการ         
ให้เหม็นข้าว   ให้อาเจียน    ให้จุกอกให้เสียดแลแน่นหน้าอก

                             U59.52                 อุทธังคมาวาตาพิการ
ให้ดิ้นรนมือเท้าขวักไขว่  ให้พลิกตัวไปๆมาๆ  ให้ทุรนทุราย ให้หาวให้เรอบ่อยๆ

                          U59.53                    อโธคมาวาตาพิการ   
ให้ยกมือและเท้าไม่ได้   ให้เมื่อยขบ   ขัดทุกข้อทุกกระดูก   ให้เจ็บปวดเป็นกำลัง

 

                             U59.54                           อังคมังคานุสารีวาตา 
ให้โสตประสาทตึง  คนเจรจาไม่ได้ยิน  แล้วก็ให้เป็นหิ่งห้อยออกจากลูกตา  ให้เมื่อยมือและเท้า  เมื่อยแข้งขา ทั้ง ๒ ข้าง  ดังกระดูกจะแตก ให้ปวดในกระดูกสันหลังดังว่าเป็นฝี  ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว  ให้คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า  กินอาหารไม่รู้จักรส  เป็นดังนี้คือธาตุลมแตก

                             U59.55                           อัสสาสะปัสสาสะวาตา
ให้หายใจเข้าและออก  ถ้าสิ้นลมหายใจเข้าและออก  หรือลมหายใจเข้าและออกขาดแล้วเมื่อใดก็ตายเมื่อนั้น

                                      U59.59                           ธาตุลมพิการ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U59.6              ธาตุไฟพิการ 
การเจ็บป่วยที่เกิดจากธาตุไฟพิการหรือมีการทำงานไม่ปกติ  มี ๔ จำพวก  ได้แก่  สันตับปัคคีพิการ  ปริณามัคคีพิการ          ชิรนัคคีพิการ  ปริทัยหัคคีพิการ

                                 U59.60         สันตับปัคคีพิการ       
ทำให้กายเย็นชืด

U59.61                      ปริณามัคคีพิการ
ให้ร้อนในอกในใจ   ให้บวมมือแลเท้า   ให้ไอเป็นมองคร่อ  ให้ท้องขึ้นท้องพอง     ให้พะอืดพะอม                                                    
                          
                                                U59.62                 ชิรนัคคีพิการ 
ให้หน้าผากตึง  นัยน์ตาแลดูไม่รู้จักอะไรแล้วกลับมาเล่า  หูตึงแล้วกลับไปได้ยินมาเล่า  จมูกไม่รู้จักกลิ่น   เหม็นแลหอมแล้วกลับมารู้จักกลิ่นเหม็นแลหอมเล่า  ลิ้นไม่รู้จักรสอันใดเลยแล้วก็กลับมารู้จักรสอีกเล่า  กายนั้นถูกต้องสิ่งใดๆ ก็ไม่รู้สึกตัวกลับมารู้สึกตัวอีกเล่า  แต่แปรไปแปรมาดังนี้  จะเที่ยงลงมิได้ก่อน

                                         U59.63                           ปริทัยหัคคีพิการ       
ให้มือแลเท้าเย็น  ชีพจรไม่เดิน  ประการหนึ่งชีพจรขาด  หลัก ๑ ก็ดี  ๒ หลักก็ดี  บางทีให้เย็นเป็นน้ำ  แต่ภายในร้อน  ให้รดน้ำมิได้  บางทีให้เย็นแล้วให้เหงื่อตกเป็นดังเมล็ดข้าวโพด

                                                     U59.69                           ธาตุไฟพิการ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U59.8              โรคชนิดอื่นที่เกี่ยวกับธาตุ

                                U59.80                           วิสมธาตุ
วิสมธาตุนั้นยิ่งไปด้วยกองฉกาลวาโย  วาโยเดินไม่สะดวก  คือทำให้ท้องลั่นอยู่เป็นนิจ  บางวันให้ท้องผูก  บางวันให้ถ่ายท้อง  บางวันให้แน่นท้อง  แน่นอกคับใจ  บางวันให้อยากอาหาร  เพลิงธาตุมิได้เสมอ  วาโยเดินไม่สะดวก  โทษทั้งนี้เกิดขึ้นแต่กองฉกาลวาโยให้เป็นเหตุ

                                U59.81                           กติกธาตุ
กติกธาตุนั้นยิ่งไปด้วยสรรพพิษทั้งปวง  พิษดี  พิษเสมหะ พิษลมเป็นอาทิ  พิษอันเศษเป็นที่สุด คือ เพลิงธาตุนั้นแรงเผาอาหารฉับพลันยิ่งนัก  กระทำให้จับเชื่อมมัว  กลางวันและกลางคืนมิได้เว้นเวลา  ให้ปวดศีรษะ  ให้ผิวเนื้อแดงตาแดง  ให้ขัดอุจจาระ ปัสสาวะ  ให้เป็นพรรดึก  โทษทั้งนี้เกิดแต่กองจตุกาลเตโชธาตุเป็นเหตุ

                                U59.82                           มันทธาตุ
ลักษณะมันทธาตุนั้น  ยิ่งไปด้วยเสมหะมีกำลัง  คือเพลิงธาตุนั้นหย่อนเผาอาหารมิได้ย่อย  มีอาการถ่ายท้องวันละ ๒ – ๓ เวลา  ให้สวิงสวาย  ให้อ่อนเพลียหมดแรง  ท้องขึ้นมิรู้วาย  อุจจาระเป็นเมือกมันเป็นเปลวหยาบและละเอียดระคนกัน  ให้ปวดมวนเป็นกำลัง

                              U59.83                           อภิญญาณธาตุ
ธาตุไม่ดี  อุจจาระเป็นสีต่างๆ  เช่น
อุจจาระสีดำ                    เป็นเพื่อปถวีธาตุพิการ
อุจจาระสีแดง                  เป็นเพื่ออาโปธาตุพิการ
อุจจาระสีขาว                  เป็นเพื่อวาโยธาตุพิการ
อุจจาระสีเขียว     เป็นเพื่อเตโชธาตุพิการ
คนที่จะเป็นอภิญญาณธาตุ  อสุรินทัญญาณธาตุ  ธาตุต่างๆ ต้องประชุมเป็นมหาภูตรูป  เป็นต้นว่า  เตโชธาตุ ได้แก่ พัทธะปิตตะ  อพัทธะปิตตะ  และกำเดา  วาโยธาตุได้แก่  หทัยวาตะ  สัตถกะวาตะ  สุมนาวาตะ  อาโปธาตุ  ได้แก่  ศอ  เสมหะ  อุระเสมหะ  คูภเสมหะ  ปถวีธาตุได้แก่  หทัยวัตถุ  อุทริยะ  กรีสะ  รวมกันทั้ง ๑๒ ฐาน  เช่นนี้เรียกว่ามหาภูตรูปเต็มหมวดหมู่  จึงทำให้เกิดอุจจาระธาตุ  เช่น  อภิญญาณธาตุ  และ       อสุรินทัญญาณธาตุ  ดังกล่าวมาแล้ว

                                U59.84                           อสุรินทัญญาณธาตุ
ธาตุนั้นสำแดงให้รู้ดุจผีสิงตกเข้าในระหว่างอชินธาตุ (อชิน แปลว่า ชนะไม่ได้)  คือธาตุนั้นไม่ย่อยไป  อันลักษณะแลอาการที่กล่าวนี้เรียกว่า อุจจาระธาตุลามก  ระคนด้วยมหาสันนิบาต  โรคอย่างนี้รักษายากกว่าโรคทั้งปวง  เพราะเป็นโรคเรื้อรัง  ถ้าให้ยามิถอย  อุจจาระนั้นคงแดงอยู่นานเรื้อรัง  ก็จะแปรไปตกถึงอสาทิยอุจจาระคันธารธาตุ  บังเกิดเป็นปรเมหะคือเมือกมันเปลวไต  ลักษณะอสาทิยอุจจาระคันธารธาตุ  เมื่อตกอยู่ในระหว่างอุจจาระธาตุลามก  แก้อุจจาระธาตุไม่สิ้นโทษ  จึงแปรให้อุจจาระนั้นมีกลิ่นขึ้นต่างๆ  กลิ่นอุจจาระต่างๆ นั้นมี ๔ ประการ  คือ  กลิ่นดังปลาเน่า ๑  กลิ่นดังหญ้าเน่า ๑  กลิ่นดังข้าวบูด ๑  กลิ่นดังศพอันเน่าโทรม ๑  รวมทั้ง ๔ ประการ

                                U58.88                           โรคชนิดอื่นเกี่ยวกับธาตุ, ที่ระบุรายละเอียด

U59.9                       ธาตุพิการ, ไม่ระบุรายละเอียด
                                  โรคที่เกี่ยวกับธาตุ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U60                    โรคที่เกี่ยวกับกษัย
กษัย  หมายถึง  โรคที่ทำให้เกิดอาการแห่งความเสื่อมโทรมซูบผอม  สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ 

 U60.0              กษัย กลุ่มที่หนึ่ง

                                U60.00                           กษัยล้น
เกิดเพื่อน้ำเหลืองโดยกำลังลมพัดให้เป็นฟองแลน้ำ  กระทำให้ท้องลั่นขึ้นแลลั่นลง  ถ้าข้างขึ้นให้แดกอก  ถ้าข้างแรมให้ถ่วงหัวเหน่า  ดังจะขาดใจตายดังนี้

                                U60.01                           กษัยราก
เกิดเพื่อลมร้อง  ให้อาเจียนลมเปล่า  แลให้ลั่นอยู่ในท้องดังจ๊อกๆ  แล้วให้ตึงไปทั้งกาย  ดุจบุคคลเอาเชือกมารัดไว้ให้ผู้นั้นร้องครางอยู่ทั้งกลางวันแลกลางคืนมิได้ขาด  ดังจะกลัดใจตาย

                                U60.02                           กษัยปู
เกิดเพื่อโลหิตคุมกัน  มีสัณฐาน (เหมือน) ดังปูทะเลเข้ากินอยู่ในกระเพาะข้าว  กระทำให้ปวดขบท้องน้อยเป็นกำลัง  บริโภคอาหารซาบลงไปเมื่อใดค่อยสงบ  ครั้นสิ้นอาหารแล้วกระทำให้พัดอยู่ดุจดังกงเกวียน (ปวดมวนอยู่ในท้อง)  ลั่นอยู่ตามลำไส้  เจ็บดังจะขาดใจตาย

                                U60.03                           กษัยจุก
โรคกษัยเกิดแต่ลมในร่างกายรวมตัวขึ้นในท้อง  ทำให้มีอาการจุกแน่นขึ้น  เป็นอาการที่ทรมานมาก

U60.04                      กษัยปลาไหล
โรคกษัยเกิดในกระเพาะอาหาร  ลำไส้  และเลยเขาไปถึงตับและม้าม  ทำให้ขัดปัสสาวะ  อุจจาระ  มีอาการปวดเมื่อยตามข้อกระดูก

                                U60.05                           กษัยปลาหมอ
โรคกษัยเกิดในลำไส้  ท้องน้อย  และเข้าไปถึงตับ  ม้าม  ปอด  ทำให้มีอาการจุกแน่นขัดปัสสาวะ  อุจจาระ  เกิดความเจ็บปวดอย่างทรมาน

                                U60.06                           กษัยปลาดุก
โรคกษัยเกิดจากโลหิตและน้ำเหลืองระคนกัน  ทำให้กระเพาะอาหาร  มดลูก  ท้องน้อย  กระดูกสันหลัง  และต้นขามีอาการผิดปกติ  ปวดตึง  เจ็บระบมอย่างทรมาน  บางทีมีอาการหอบ  สะอึกด้วย

                                U60.07                           กษัยปลวก
โรคกษัยเกิดอาการเจ็บปวดในทรวงอก  เป็นแล้วหายเป็นระยะๆ หลายครั้งหลายหนต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ทำให้ร่างกายซูบผอม  ผิวเนื้อซีด

 U60.1              กษัย กลุ่มที่สอง

                                U60.10                           กษัยลิ้นกระบือ
โรคกษัยเกิดจากโลหิตจับตัวเป็นก้อนลิ่มติดอยู่ที่ชายตับ  ทำให้ตับแข็งยื่นยาวออกมาทางชายโครงข้างขวา  ลักษณะเหมือนลิ้นกระบือ  พิษของโรคทำให้มีไข้  ตัวร้อน  จับเป็นเวลา  มีอาการจุกแน่นในอก  บริโภคอาหารไม่ได้  นอนไม่หลับเป็นนิจ  ทำให้ร่างกายซูบผอม  หากเป็นติดต่อกันนานวันพิษของโรคจะซึมเข้าไปในลำไส้ใหญ่  ไส้น้อย  ทำให้ไส้พอง  ท้องใหญ่  ได้ชื่อว่ามานกษัย

                                U60.11                           กษัยเต่า
โรคกษัยเกิดจากเสมหะจับตัวเป็นก้อน  เข้าใหญ่ประมาณเท่าฟองไข่เป็ด  ทำให้มีอาการแน่นจุกที่ยอดอก  พิษไข้ทำให้มีโลหิตตกทางทวารหนักและเบา  ร่างกายซูบผอม  ผิวซีดเหลือง

                                U60.12                           กษัยดาน
โรคกษัยเกิดแต่ยอดอกลงไปถึงท้องน้อย  มีอาการต่างๆ เป็นต้นว่าทำให้จุกเสียดแน่นหน้าอก  ปวดเป็นระยะๆ  บริโภคอาหารไม่ได้

                                U60.13                           กษัยท้น
โรคกษัยเกิดจากการรับประทานอาหารผิดสำแลง  ทำให้มีอาการแน่นขึ้นมาจากท้องน้อย  หายใจไม่สะดวก  อาเจียน  รับประทานอาหารไม่ได้

                                U60.14                           กษัยเสียด
เกิดแต่แม่เท้าตามเส้นตะคริว  มันให้ปวดขบสะดุ้งทั้งตัว  แล้วมันก็ขึ้นให้เสียดเอาชายโครงดังจะขาดใจ  บางทีมันก็ขบเอาทั้งตัว  ครั้นสะดุ้งขึ้นมาทั้งตัว  มันก็เสียดแทงเอาชายโครงซ้ายขวาก็ดี  มันทำให้ผู้นั้นร้องอยู่ดังจะสิ้นใจ

U60.15                      กษัยไฟ
เกิดเพื่อเตโชชื่ออะพิตา  ชื่อปาคะนี  มันให้จับเป็นเวลา  แล้วให้ลูกตานั้นแดงเจ็บปางตาย  แลมันเข้าเจ็บรวบที่ยอดอกเหมือนฝีมะเร็งทรวง  มันให้เจ็บเวลาบ่าย  แล้วบวมหน้า  บวมท้อง  บวมตีน  แลบวมสามประการนี้ตายแล

  • กษัยไฟกองหนึ่งชื่อปริทัยหัคคี  และเพลิงที่เผาอาหารพิการ  กินอาหารมันให้พะอืดพะอม  ให้ท้องขึ้น  มิได้ผายลม  หรือเจ็บอก  แน่นอก  กินอาหารไม่ได้
  • กษัยอันหนึ่งมันเกิดเพื่อเตโชธาตุอันหนึ่งชื่อสันตัปปัคคี  มันให้ตัวเย็นทั่วตัว  แต่ว่าให้ร้อนภายในเป็นกำลัง  มันตั้งขึ้นใต้สะดือ ๓ นิ้ว  มันให้จุกแดก  มันให้ลั่นขึ้นลั่นลง  ให้เสียดสีข้าง  จะพลิกตัวไปมามิได้  ประดุจเป็นปัตฆาต  ให้เจ็บให้ปวดศีรษะ  ให้วิงเวียนหน้าตา

                                U60.16                           กษัยน้ำ
โรคกษัยเกิดเป็นอุปาติกะโรคมาจากโลหิต  น้ำเหลือง  และเสมหะในร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือทั้งตัว  อย่างผิดปกติ  ทำให้มีอาการต่างๆ  เป็นต้นว่าปวดตามร่างกายและยอดอก  กับมีอาการอื่นๆ อย่างเดียวกับกษัยกล่อน

                                U60.17                           กษัยเชือก
โรคกษัยเกิดจากลมในร่างกายรวมตัวกันแน่นแข็งเหมือนแท่งเหล็ก  เริ่มจากท้องน้อยขึ้นไปถึงหัวใจ  มีอาการทำให้เส้นท้องตึง  จุกเสียดตามชายโครง  อุจจาระผูก  ปัสสาวะขัด  เบื่ออาหาร  พิษของโรคทำให้เป็นไข้จับเป็นเวลา  มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาว

                               U60.18                           กษัยลม
เกิดเพื่อลม ๖ จำพวก 

  • จำพวกหนึ่งเกิดเพื่อลมในไส้  มันให้เป็นดานกลมเข้าประมาณเท่าลูกในตาล  เมื่อมันแก่เข้ามันให้แข็งอยู่ทั้ง ๒ ข้าง  แล้วมันให้จุกเสียดแน่นในอก
  • กษัยลมจำพวกหนึ่งมันเกิดเพื่อนอกไส้  แล้วมันแล่นเข้าในกระดูก  มันให้เมื่อยทุกกระดูก  กระดูกดังจะแตกจากกัน
  • กษัยลมจำพวกหนึ่งบังเกิดเพื่อลมทั้งกาย  แลลมอันนั้นมันให้ประมวลกันเข้า  ตั้งอยู่เหนือสะดือเท่าลูกมะเดื่อ  มันให้จุกเสียดแน่นอกเป็นกำลัง
  • กษัยเกิดเพราะลมอุทรวาตนั้น  มันเกิดขึ้นมาแต่ปลายเท้าขึ้นมาถึงศีรษะ  เมื่อจะเป็นเหตุแก่บุคคลผู้นั้น  แลลมนั้นมีพัดอยู่แต่เพียงยอดอก  มันก็แล่นเข้าในลำไส้  มันก็ให้เป็นเม็ดขึ้นในลำไส้  และมันก็ให้เป็นฝีรวงผึ้ง  มันก็ให้เจ็บปวดพ้นประมาณ
  • กษัยมันเกิดเพื่อลม  มันพัดแต่ปลายเท้าตลอดถึงกระหม่อมนั้น   ลมอันนี้มันพัดไม่ตลอดต้น(ติด) อยู่เพียงไหนมันให้เจ็บอยู่เพียงนั้นแล
  • กษัยลมมันตัน  ๔  สฐาน  ที่ใต้สะดือนั้นแห่ง ๑  เหนือสะดือนั้นแห่ง ๑  ที่ริมสะดือซ้ายขวาตามมันจะตั้งขึ้นแห่งใด แห่งหนึ่งประดุจฝีหัวด้วนนั้น

 U60.2              กษัยกล่อน

                                U60.20                           กษัยกล่อนดิน
เกิดขึ้นเพราะปถวีธาตุหรือธาตุดินในร่างกายผันแปรผิดปกติ  มีอาการต่างๆ  เช่น  ทำให้ท้องอืด  เส้นท้องตึง  เจ็บสะเอว  จุกเสียด  ท้องผูกมากจนเป็นพรรดึก  มือเท้าชา  นัยน์ตาฟาง

                                U60.21                           กษัยกล่อนน้ำ
เกิดขึ้นเพราะอาโปธาตุหรือธาตุน้ำในร่างกายผิดปกติ  เกิดอาการต่างๆ  เช่น  ทำให้มีอาการปวด  ขัด  ยอก  จุก  เสียด  แน่นในท้องถึงยอดอก  ทับทางเดินอาหาร  และน้ำปัสสาวะผิดปกติ

                                U60.22                           กษัยกล่อนลม
เมื่อจะกำเริบข้างขึ้นข้างแรมคล้ายกัน  ถ้าเย็นเข้าคล้ายเหมือนหนึ่งคนดี  ถ้ามันจะเป็นขึ้นมาแล้วมันจุกขึ้นมา  แล้วมันก็ขัดมาขบตอดเอาในท้อง  มันให้ร้องอยู่อกนั้นเย็นดังน้ำ  แล้วมันให้กลับขบยิ่งนัก  แต่ว่ากินอาหารแล้วก็ร้อนลงไป  มันคลายแต่น้อย

                                U60.23                           กษัยกล่อนไฟ
เกิดขึ้นเพราะเตโชธาตุหรือธาตุไฟในร่างกายผิดปกติ  เกิดอาการจุกแน่นขึ้นในทรวงอก  ภายในกายร้อนรุ่ม  มีเหงื่อออกทุกขุมขน

                                U60.24                           กษัยกล่อนเถา
เกิดเป็นลมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง  เสียดไปตามชายโครงถึงยอดอก  เสียวตลอดขึ้นไปถึงลำคอ  ทำให้เจ็บปวดแน่นในอก  กระทบไปถึงระบบขับถ่าย  ทำให้มีน้ำปัสสาวะขุ่นเป็นตะกอน

                                U60.28                           กษัยกล่อนชนิดอื่น

                                U60.29                           กษัยกล่อน, ไม่ระบุรายละเอียด

U60.8                       โรคที่เกี่ยวกับกษัยชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

U60.9                       โรคที่เกี่ยวกับกษัย, ไม่ระบุรายละเอียด

 

โรคที่เกิดเฉพาะตำแหน่ง
(U61 – U68)

U61                    โรคและอาการของศีรษะ, สมอง และระบบประสาท

U61.0                       อัมพฤกษ์ หรือ ลมอัมพฤกษ์
เป็นโรคที่เกิดจากลมเบื้องสูงกับลมเบื้องต่ำพัดไม่สมดุลกัน (ลมอโธคมาวาตา และลมอุทธังคมาวาตา ระคนกัน)  ถ้าหัวต่อกระดูกไม่เคลื่อนไม่หลุดจะเรียกว่า อัมพฤกษ์

 U61.1              อัมพาต หรือ ลมอัมพาต
เป็นโรคที่เกิดจากลมเบื้องสูงกับลมเบื้องต่ำพัดไม่สมดุลกัน (ลมอโธคมาวาตา และลมอุทธังคมาวาตา ระคนกัน)  จะต้องมีการเคลื่อนหลุดของหัวต่อกระดูกจากเบ้าเสมอ  เห็นได้ที่หัวไหล่และสะโพก  เรียกว่าอัมพาต  อัมพาต (ตัว) มี ๕ ชนิด  ได้แก่  อัมพาตครึ่งซีก  อัมพาตครึ่งท่อนล่าง  อัมพาตทั้งตัว  อัมพาตเฉพาะแขน  อัมพาตเฉพาะขา

                           U61.10                 อัมพาตครึ่งซีก
เป็นโรคที่ทำให้แขนและขาข้างเดียวกันซีกใดซีกหนึ่งเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ

                                      U61.11                 อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
เป็นโรคที่ทำให้ขาทั้งสองข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ  ข้อต่อสะโพกหลวม  มีปัญหาสูญเสียการควบคุมระบบขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

                                      U61.12                 อัมพาตทั้งตัว
เป็นโรคที่ทำให้แขนขาทั้งสองข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ  มีปัญหาสูญเสียการควบคุมระบบขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

                                      U61.13                 อัมพาตเฉพาะแขน
เป็นโรคที่ทำให้แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ  เกิดจากเส้นประสาทระดับไขสันหลังต้นคอไม่เกินกึ่งกลางสะบัก

                                      U61.14                 อัมพาตเฉพาะขา
เป็นโรคที่ทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ  สาเหตุจากรากประสาทตั้งแต่ข้อสะโพกลงไปถึงขา

                                      U61.15                 อัมพาตหน้า
เป็นโรคที่เคลื่อนไหวใบหน้าทั่วๆไปไม่ได้  เช่น  ยักคิ้วไม่ได้  หลับตาไม่ลง  ไม่มีรอยย่นที่หน้าผาก  บางครั้งจะพบหน้าบวมซีกหนึ่งข้างที่เป็น  และถ้าเป็นนานๆ หน้าจะลีบ  ปากเบี้ยว  มุมปากตก  ทำให้น้ำลายไหลออกมาอีกข้างหนึ่ง  อาจมีอาการลิ้นชา  และหูอื้อ  มีเสียงในหูได้

                                      U61.18                 อัมพาตชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                      U61.19                 อัมพาต, ไม่ระบุรายละเอียด

U61.2                       ลมปะกัง หรือ ลมตะกัง
ปวดศีรษะข้างเดียวหรือ ๒ ข้างก็ได้  หน้าแดง  และอาจปวดกระบอกตา  ตาลาย  เห็นแสงระยิบระยับ  จะออกอาการเวลาเช้าถึงเที่ยง  และมีอาการอื่นร่วมด้วย  เช่น  ปวดศีรษะและมีความดันสูง  ปวดศีรษะและมีอาการอาเจียน  ปวดศีรษะและมีไข้สูง

 U61.3              ปวดศีรษะ  วิงเวียน  และเป็นลม

                           U61.30                           ปวดศีรษะ
ปวดที่บริเวณศีรษะ

                                      U61.31                           วิงเวียน
ความรู้สึกบ้านหมุน  เป็นมากขึ้นเวลาเคลื่อนไหวศีรษะ  อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

                                      U61.32                           เวียนศีรษะ  หน้ามืดตาลาย
อาการเวียนศีรษะโดยไม่มีบ้านหมุน  อาจมีอาการเหงื่อแตก  คลื่นไส้  ตามัวจนมองไม่เห็น  และอาจตามด้วยการเป็นลม  หรือหายไปเอง

                                      U61.33                           เป็นลม
เป็นภาวะหมดสติชั่วคราวจากการที่มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง  ทำให้ล้มลง  และสามารถฟื้นคืนปกติได้  อาจนำมาด้วยเวียนศีรษะ  เหงื่อแตก  คลื่นไส้  ตามัว

U61.4                       โรคพาร์คินสัน

เป็นความเสื่อมของสมองส่วนที่ควบคุมการทรงตัว  ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาเกร็ง  เคลื่อนไหวช้า  การทรงตัวไม่ดี  รวมถึงการสั่นของอวัยวะต่างๆ

U61.5                       โรคออทิสติก
ภาวะความผิดปกติทางพัฒนาการอย่างรุนแรง  ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ  ทั้งด้านภาษา  การสื่อสาร  การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  และพฤติกรรม  โดยจะปรากฏให้เห็นได้ในระยะ ๓ ปีแรกของชีวิต  ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติทางหน้าที่ของระบบประสาทบางส่วน

U61.6                       ความจำเสื่อม
ผู้ป่วยจะลืมเหตุการณ์ปัจจุบันก่อน  เมื่อมีอาการมากขึ้นจึงจะเริ่มลืมเรื่องราวที่ย้อนหลังไปมากขึ้น

U61.8                       โรคและอาการชนิดอื่นของศีรษะ, สมอง และระบบประสาท, ที่ระบุรายละเอียด

U61.9                       โรคและอาการของศีรษะ, สมอง และระบบประสาท, ไม่ระบุรายละเอียด

 U62                    โรคและอาการของตาและหนังตา

U62.0                       ต้อจักษุฟาง
ต้อ เป็นชื่อโรคที่เรียกในคัมภีร์อภัยสันตา  ว่าด้วยลักษณะต้อต่างๆ  ต้ออันหนึ่งแลกลางคืนจึงมืด (แล หมายถึง ดูหรือมอง)  เกิดเพื่อกำเดา  ชื่อต้อจักษุฟาง  จักษุฟางมีความหมายเหมือนกับตาฟางและตาฝ้าฟาง  คือมองไม่ชัดเหมือนมีอะไรบัง

U62.1                       ตามัวและตาฝ้าฟาง
อาการมองเห็นไม่ชัด  หรือสายตามืดมัว

U62.2                       ตาฟางกลางคืน
อาการมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน

U62.3                       ปวดตาและเจ็บตา
มีอาการปวดหรือเจ็บบริเวณรอบๆตา  หรือภายในนัยน์ตา

U62.4                       ตาแดง
เยื่อบุตามีสีแดง

U62.5                       สันนิบาตหนังตาตก
มีอาการตาปรือ  ลืมตาไม่ขึ้น  กำลังกล้ามเนื้อหนังตาไม่มีแรง  อาจเป็นข้างเดียวหรือ ๒ ข้างก็ได้  พบได้ทุกเพศทุกวัย  ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน  อาจพบประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง  หรือเกิดจากโรคบางอย่าง  และมักเป็นร่วมกับอัมพาตหน้า

U62.8                       โรคและอาการอื่นของตาและหนังตา, ที่ระบุรายละเอียด

U62.9                       โรคและอาการของตาและหนังตา, ไม่ระบุรายละเอียด

 U63                     โรคและอาการของหู

U63.0                       หูอื้อ
หูได้ยินน้อย

U63.1                       มีเสียงในหู
ได้ยินเสียงผิดปกติในหู

U63.2                       ปวดหู
ปวดในหูหรือรอบๆหูข้างหนึ่งหรือสองข้าง

U63.8                       โรคและอาการชนิดอื่นของหู, ที่ระบุรายละเอียด

U63.9                       โรคและอาการของหู, ไม่ระบุรายละเอียด

 U64                     โรคและอาการของทางเดินหายใจ

U64.0                       ฆานะโรโค หรือ ริดสีดวงจมูก
หายใจขัด  บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในจมูก  แล้วแตกลำลาบ (กระจาย) ออก  เหม็นคาวคอ  กระทำพิษทำให้ปวดแสบปวดร้อนเป็นกำลัง  บางทีมีน้ำมูกไหลอยู่นิจ  มีลักษณะใสดุจน้ำฝน  ทำให้เหม็นคาวคอยิ่งนัก

U64.1                       กล่องเสียงอักเสบ
ทำให้มีอาการเสียงแหบ  เสียงเปลี่ยน  ไอ  เจ็บคอ

U64.2                       หลอดลมอักเสบ
มีอาการไอ  จะเป็นมากเวลากลางคืน  ระยะแรกจะไอแห้งๆ  อาจมีเสียงแหบและเจ็บหน้าอกเพราะไอมาก  ๔ – ๕ วันต่อมาจะมีเสมหะเหนียวเป็นสีขาว  หรือข้นขุ่นเป็นสีเหลืองหรือเขียว  ในเด็กอาจไอจนอาเจียน  อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีก็ได้  บางคนอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย  เรียกว่าหืดจากหลอดลมอักเสบ

U64.3                       ไอ
ไอร่วมกับมีเสมหะที่มีสีและกลิ่นเปลี่ยนไป (กลิ่นเหม็น  สีขุ่นขึ้น)  หรือไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ  หรืออาจไอออกมาเป็นเลือดจากทางเดินหายใจส่วนล่าง  ตั้งแต่เลือดปนเสมหะจนกระทั่งเป็นเลือดสด

U64.4                       หอบหืด
เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะตีบตัวของหลอดลม  ทำให้ลมหายใจเข้าออกลำบาก  ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบเหนื่อยเป็นๆหายๆ เรื้อรัง

U64.5                       หายใจไม่เต็มอิ่ม หรือ หายใจขัด
ความรู้สึกหายใจลำบาก  หรือรู้สึกหายใจไม่สะดวก

U64.8                       โรคและอาการชนิดอื่นของทางเดินหายใจ, ที่ระบุรายละเอียด

U64.9                       โรคและอาการของทางเดินหายใจ, ไม่ระบุรายละเอียด

U65                          โรคและอาการในปากและคอ

U65.0                       กัปปิ หรือ กัปโป
กัปปินั้นบวมขึ้นในคอ  กัปโปนั้นมันบวมทั้งคอ  กัปปิมีอาการอักเสบเป็นฝีในลำคอ  ทำให้กลืนน้ำลายยาก

U65.1                       ทันตะบุปผา
ทันตะบุปผานั้นมันบวมออกมาทั้งสองข้าง  ในลำคอเหมือนเมล็ดข้าวโพด  มันเป็นอย่างงวงช้างเป็นตออยู่ที่ลำคอ  มะเร็งในช่องปาก  ลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวโพด  ขึ้นได้ทั่วไปในช่องปาก  เมื่อแตกบานออกเหมือนดอกบุกรอ  และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง  ถ้าเป็นมากอาจถึงแก่ชีวิต  บางครั้งลุกลามไปยังลำคอ

U65.2                       รำมะนาด หรือ เหงือกอักเสบ
โรคที่เกิดที่เหงือกไรฟัน  มีน้ำหนองน้ำเลือดให้ปวดหนัก

 

 

 U65.3              คออักเสบและทอนซิลอักเสบ

                                U65.30                           คออักเสบ
การอักเสบภายในลำคอ   ในรายที่เรื้อรังจะมีอาการเจ็บคอบ่อยๆ  เบื่ออาหาร  อ่อนเพลีย  ไอแห้งๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย  มักไม่มีไข้  หรือบางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ

                                      U65.31                           ทอนซิลอักเสบ
มีไข้สูงและเจ็บคอ  ในรายที่เป็นเฉียบพลันจะมีไข้สูงเกิดขึ้นทันทีทันใด  และมีอาการปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  ครั่นเนื้อครั่นตัว  หรือหนาวสะท้าน  รู้สึกแห้งผากในลำคอหรือเจ็บคอมาก  บางรายอาจเจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารลำบาก  ในรายที่เรื้อรังจะมีอาการเจ็บคอบ่อยๆ 

                                      U65.32                           คอและทอนซิลอักเสบ         

U65.4       ปวดฟัน
อาการปวดเสียวฟันเล็กน้อยเวลากินของหวาน  ของเย็นจัดหรือร้อนจัด  บางรายอาจมีอาการปวดแปล๊บๆ  ซึ่งบ่งบอกตำแหน่งของฟันที่ปวด  ถ้าปล่อยไว้จนรากฟันอักเสบเป็นหนอง  ก็จะทำให้มีอาการปวดฟันรุนแรง  มีอาการปวดเสียวฟันหรือเหงือก
    
U65.5                       ฝีฟองพระสมุทร หรือ ฝีฟองสมุทร
ลักษณะวัณโรคอันบังเกิดแต่ภายในอันมีชื่อว่าฟองพระสมุทร  อันบังเกิดเพื่อวาโยโลหิตระคนกันขึ้นในคอ  ต้นขากรรไกร  เมื่อแรกขึ้นมีสัณฐานดังหลังเบี้ย  ถ้าขึ้นขวาตัวผู้  ถ้าซ้ายตัวเมีย  มีอาการกระทำให้เจ็บในลำคอเป็นกำลัง  จะกลืนข้าวน้ำมิได้  ให้เจ็บปวดดังจะขาดใจ  ถ้ายาถูกก็เกลื่อนหายไป  ถ้ายามิถูกก็แก่กล้าเป็นหนอง  มีความเวทนาเป็นอันมาก  แล้วกระทำพิษให้จับสะบัดร้อนสะบัดหนาว  ดุจไข้จับให้เชื่อมมัว  ให้ร้อนแต่ศีรษะตลอดจนปลายเท้า  จะได้เหมือนไข้เหนือสันนิบาตนั้นก็หามิได้  ให้ทุรนทุรายไปจนกว่าหนองจะแตก  วัณโรคอันนี้รักษาได้ไม่ตาย

U65.6                       เลือดออกตามไรฟัน
มีอาการเลือดออกตามไรฟัน

 U65.7              แผลในปาก

                           U65.70                           แผลร้อนใน
แผลในช่องปาก

                                      U65.71                           ปากนกกระจอก หรือ ปากเปื่อย
ปากเป็นแผลโดยเฉพาะมุมปาก

                                      U65.78                           แผลชนิดอื่นในปาก, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U65.79                           แผลในปาก, ไม่ระบุรายละเอียด

 U65.8              โรคและอาการอื่นในปากและคอ

                           U65.80                           ลิ้นเป็นฝ้าขาว
แผ่นสีขาวติดกับลิ้นขูดไม่ออก  หรือลิ้นสีขาวเหมือนมีอะไรมาเคลือบ

                                U65.81                           ลิ้นแตก
ลิ้นแตกเป็นร่อง

                                      U65.82                           ร้อนในที่ไม่มีแผลในปาก
ร้อนในปาก  ในคอ  คอแห้ง  เจ็บคอ  เหงือกบวม

                                      U65.88                           อาการและโรคอื่นในปากและคอ, ที่ระบุรายละเอียด

U65.9                       โรคและอาการในปากและคอ, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 

 U66                    โรคและอาการในท้อง

U66.0                       ลมพานไส้
ให้อาเจียน  ให้จุกอก  ถ้าเป็นถึงกำหนด ๗ เดือนมักเป็นตัวเสียดอยู่ซี่โครงซ้าย ให้ผอมเหลือง พอใจอยากของสดของคาว ครั้นถึง ๓ ปีจะตาย

U66.1                       ลมในลำไส้
ให้เป็นลูกกลิ้งขึ้นกลิ้งลงอยู่ในท้อง  ให้จุกอก  เสียดแทงตามชายโครงทั่วสรรพางค์กายแลเสียดหัวใจ

 U66.2              ลมก้อนดานในท้อง
ลมทำให้ท้องเป็นก้อน  อาการแข็งเป็นแผ่นทั้งท้อง  มักจะเป็นรอบสะดือ (ลมก้อน หมายถึง ลมทำให้ท้องเป็นก้อนดาน  หมายถึง อาการแข็งเป็นแผ่นทั้งท้อง  มักจะเป็นรอบสะดือ )  ได้แก่  ทักษิณะคุละมะ  วามะกะคุละมะ  กูปะคุละมะ  โลหะคุละมะ  ปิตตะคุละมะ

                                U66.20                           ทักษิณะคุละมะ
อาการลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่เบื้องขวาในนาภี

                                      U66.21                           วามะกะคุละมะ
อาการลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่เบื้องซ้ายในนาภี

                                      U66.22                           กูปะคุละมะ
อาการลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่เบื้องต่ำแห่งนาภี

                                      U66.23                           โลหะคุละมะ
อาการลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่เบื้องบนแห่งนาภี

                                      U66.24                           ปิตตะคุละมะ
อาการลมเป็นก้อนเป็นดานตั้งอยู่ในอุระ  มีน้ำดีซึมอยู่เป็นอันมาก

                                      U66.29                           ลมก้อนดานในท้อง, ไม่ระบุรายละเอียด

 U66.3              โรคที่เกี่ยวกับมานลม
การเจ็บป่วยที่มีอาการลมคั่งค้างอยู่ในท้อง  มี ๔ จำพวก

                           U66.30                           มานลมบังเกิดแต่อโธคมาวาตา
ทำให้ลมนั้นขังอยู่ในนาภี  มิได้พัดลงไปเป็นปกติ  จึงให้พะอืดพะอม  และให้นาภีขึ้นมิรู้วาย  บางทีให้แน่นไปทั้งท้อง  จะบริโภคอาหารมิได้  ให้อิ่มไปด้วยลมเป็นกำลัง  จะผายลมก็มิได้สะดวก  ให้อุจจาระผูกเป็นพรรดึก  โดยกำลังลมกองนี้กระทำนาภีจึงใหญ่ขึ้นพอสังเกต  ตั้งอยู่ใต้สะดือ ๒ นิ้ว  ครั้นนวดจึงกระจายออก  แล้วกลับแข็งเข้าลอยขึ้นมาทับเส้นอัมพฤกษ์  ลมนั้นจึงพัดกล้าขึ้นให้นาภีนั้นใหญ่ออกแล้วแข็ง

                                       U66.31                           มานลมบังเกิดแต่อุทธังคมาวาตา
ทำให้ลมนั้นคั่งอยู่ในนาภี  มิได้พัดขึ้นไปเป็นปกติ  ให้แน่นหน้าอกเป็นกำลัง  จะบริโภคอาหารมิได้  จะเรอก็มิออก  จะผายลมก็มิได้ไปสะดวก  ให้อุจจาระผูกโดยกำลัง  ลมนั้นกล้าพัดเตโชให้กำเริบ  จึงแน่นไปทั้งนาภี  ลมกองนี้ตั้งเหนือสะดือ ๒ นิ้ว  แข็งดุจแผ่นกระดานทับอยู่บนเส้นอัมพฤกษ์ ระคนด้วยลมอุทรวาต  จึงพัดให้นาภีนั้นใหญ่ขึ้นเต็มไปทั้งท้อง

                                      U66.32                           มานลมบังเกิดแต่กุจฉิสยาวาตา
ลมกองนี้พัดอยู่ในท้อง  ระคนเข้ากับลมอุทรวาตก็พลอยกันกำเริบขึ้น  มิได้พัดลงไปสู่คูถทวาร  ทวารนั้นก็มิได้เปิด  อุจจาระก็มิได้เดินเป็นปกติ  ต่อกินยาจึงเดินโดยกำลังยา  ครั้นคุมเข้าก็ทำให้แน่นเฟ้อ  ครั้นถ่ายไปค่อยสบายแล้วกลับมาเป็นไปอีกถึง ๓, ๔ ครั้ง  นาภีนั้นใหญ่ขึ้นโดยกำลังวาโยนั้น  กล้าพัดเตโชให้ดับเสีย  จึงกระทำให้ท้องขึ้นอยู่เป็นนิจ  หายใจมิได้สะดวก  ให้เหนื่อยเป็นกำลัง  จะบริโภคอาหารมักให้คลื่นเหียน  เพลาเช้านาภีนั้นค่อยหย่อนลง  ค่อยได้ความสบายไปจนเที่ยง  เพลาบ่ายนาภีนั้นก็เบ่งขึ้นดังเก่าไปจนรุ่งหาความสุขมิได้

                                    U66.33                           มานลมบังเกิดแต่โกฏฐาสยาวาตา
ทำให้ลำไส้พองขึ้น  ดังบุคคลเอาหลอดเป่าในกระเพาะหมูให้พองขึ้นเต็มไปด้วยลม  แล้วผูกปากกระเพาะเสีย  อันว่าลำไส้นั้นก็ให้พองขึ้นทับนาภี  จึงกระทำนาภีให้ใหญ่ออก  โดยกำลังลมมักกระทำให้พะอืดพะอม  จะผายลมก็มิได้  จะถ่ายอุจจาระก็มิได้  เนื่องจากโกฏฐาสยาวาตมิได้พัดอุจจาระลงมาสู่คูถทวาร  ทวารก็มิได้เปิด  อุจจาระจึงมิได้เดินเป็นปกติ  จึงกระทำให้จุกแน่นเสียดไปทั้งท้อง  และให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว  โดยลมนั้นกระทำให้พิษขึ้น

                                      U66.39                           โรคที่เกี่ยวกับมานลม, ไม่ระบุรายละเอียด

 U66.4              โรคที่เกี่ยวกับมานโลหิต
การเจ็บป่วยที่มีอาการท้องพองโตเป็นพิษจากโลหิต  มี ๔ จำพวก

                           U66.40                           มานโลหิตบังเกิดแต่ระดูขัด
ให้โทษด้วยเหตุระดูขัดมิได้มีตามเคย  จึงเป็นพิษระคนด้วยอังคมังคานุสารีวาตาก็พากันกำเริบขึ้น  กระทำให้เตโชเป็นอธิกธาตุยิ่ง  จึงตั้งเป็นก้อนขึ้นเหนือสะดือ  ทับกองลมอุทรวาตมิให้เดินเป็นปกติ  บางทีกระทำให้จุกให้แดก  บางทีให้ร้อนให้หนาว  นาภีนั้นก็ใหญ่และขึ้นอยู่เป็นนิจมิได้ขาด

                                       U66.41                           มานโลหิตบังเกิดแต่โลหิตจาง
ทำให้โลหิตระดูมิได้เดินเป็นปกติ  ครั้นแก่เข้าก็กระทำโทษให้เป็นพิษระคนด้วยลมอันชื่อว่าวาโยพิการ  ก็พากันกำเริบขึ้นฟุ้งซ่านไปทั้งอุทร  จึงกระทำให้นาภีนั้นใหญ่  ให้กายซูบผอม  ซีด  และเบื่ออาหาร  มักให้ไอ  ให้อ้วกเป็นกำลัง  บางทีให้ร้อนให้หนาว  บางทีให้บวมมือบวมเท้าและหน้าตะโพก  ให้ท้องขึ้น  ให้แน่นเฟ้อ

                                      U66.42                           มานโลหิตบังเกิดแต่โลหิตตกค้างอยู่ในร่างกาย
ทำให้เกาะตัวเป็นลิ่มอยู่ในบริเวณต่อมโลหิต  นานวันเกิดเป็นพิษขึ้น  ระคนกับลมในร่างกาย  ซึ่งเป็นลมกำเริบขึ้นในท้อง  ทำให้ท้องพองใหญ่ขึ้น  แต่ร่างกายกลับซูบผอม  มีอาการไอ  อาเจียน  ร้อนหนาวสลับไปมา  มือบวมเท้าบวม  ท้องขึ้น  แน่นเฟ้อ

                                      U66.43                           มานโลหิตบังเกิดแต่โลหิตเน่าเสีย
เป็นโลหิตระดูพิการ  โลหิตคลอดบุตร  ที่ตกค้างอยู่จนเน่าเสีย  ทำให้มีอาการผิดปกติขึ้น  ท้องอืด  อาเจียน  เหงื่อแตก  น้ำลายมีรสขม  หน้ามืด  เป็นลม  ฟกบวมขึ้นตามตะโพก  หัวเข่า  ปลีน่อง  สะดือ  และบวมขึ้นทั่วกาย  ทำให้แน่นในอก  ท้องตึงและใหญ่ขึ้น  หายใจเหนื่อย  นอนไม่หลับ  บริโภคอาหารไม่ได้

                                      U66.49                           โรคที่เกี่ยวกับมานโลหิต, ไม่ระบุรายละเอีย

 U66.5              โรคที่เกี่ยวกับป่วง
ป่วงประการแปด  บอกให้แพทย์พึงรู้พิจารณาโดยกิริยา  ไข้มีมาต่างๆกัน  อย่าสำคัญว่าปีศาจ  เหตุเพราะธาตุต้องสำแดง (สำแลง)  ท่านให้แบ่งเป็นสี่  ตามคัมภีร์พระอภิธรรม  คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  แยกออกไปเป็นสองกระแส  คลองธรรมดา  สังขาราขัยแลวัย (มีอาการทั้งถ่ายและอาเจียนประกอบกับสังขารและวัย)  จึงนับได้แปดประการ  ชื่อของท่านจงรู้  คือป่วงงู  มักกะฏา (ลิง)  ลม  ศิลา  นก  โลหิต  น้ำ  โกฐ  คิดเข้าเป็นแปด  แม้นผู้แพทย์จะรักษาดูกิริยาอาการ

U66.50                      ป่วงงู
ป่วงงูท่านให้เร่งกลัว  มักบิดตัวตาปรอยๆ  รากลงบ่อยไม่หยุด  สี่ยามทรุดโทรมไป  ม้วยบรรลัยแม่นมั่น       มินั้นกรรมสนอง  เป็นสองคลองสันนิบาต  แปดยามขาดคงตาย  แก้ยักย้ายดูลอง  ให้เอากล้องปืนไฟ  น้ำร้อนใส่ไว้สักครู่  เทออกดูได้อายดิน  มาให้กินดูสักหน  เดชะกุศลก็พลันหาย

U66.51                      ป่วงลิง
ป่วงลิงให้ย้ายยิงฟัน  หาวคางสั่นแน่นหน้าอก  รากลงปกติไปอย่างเดียว  ฝีปากเขียวขอบตาซีด  จริตดังวานร  เอามือซ่อนกอดอก  สี่ยามตกสันนิบาตในอำนาจ

U66.52                      ป่วงลม
ป่วงลมแปรหลายอย่าง  เสียดสีข้างลงไม่มาก  จุกอกรากออกน้ำลาย  กระวนกระวายร้อนร้อง  สี่ยามต้องตามตำแหน่ง

U66.53                      ป่วงศิลา
ป่วงศิลารักษายากนัก  ให้ลงรากเป็นเดิม  แล้วมันเพิ่มอาการแรง  เมื่อยข้อแทงเสียดยอดอก  มือเท้าฟกกดหนังบู้  นิ่งสักครู่แล้วกลับเหียน  มักอาเจียนลมเปล่า  พูดเสียงเบากลอกหน้าตา  ทั้งข้าวปลาไม่รู้รส  ลิ้นไก่หดพูดล่อแล่  ท่วงทีแท้ปีศาจสิง  แล้วกลับนิ่งนอนแน่  ลงให้แก้ถึงสามวัน

U66.54                      ป่วงลูกนก
ป่วงลูกนกลงเหมือนกัน  โลมาชันกายสั่นสยอง  ให้ปวดท้องๆลั่นโครก  หาวเรอโยกดูลำบาก  หงายอ้าปากรากครางไป  หอบหายใจคล่อแคล่ (หายใจไม่สะดวก)  อาการแส่เช่นลูกนก (อาการคล้านลูกนก)  สี่ยามตกสันนิบาต

U66.55                      ป่วงเลือด
ป่วงเลือดลงไหลเจื้อย  หาวหอบเหนื่อยบ่นเพ้อพึม  ในตาซึมผิวกายเหลือง  ทำหงอยเงื่องให้วางใจ  เหมือนเป็นไข้สันนิบาตคลั่ง  เป็นที่ตั้งเจ็ดวันตาย  เร่งขวนขวายแต่แรกเป็น
U66.56                      ป่วงน้ำ
ป่วงน้ำชายจะทำฤทธิ์  ลงแล้วติดทั้งคลื่นเหียน  ให้อาเจียนไม่หายเหือด  ผิวกายเผือดพึงยล  หนาวสกลกายอุ่นดี  กาละสิงคลีเป็นเจ้าของ  ล่วงเข้าสองยามตาย  สี่ยามกลายเป็นสันนิบาต  อย่าประมาทเร่งแก้ทำ

U66.57                      ป่วงโกฐ
ป่วงโกศเกิดเพราะโทษลมกระสายกล่อน  ลงรากช้อนทั้งลำคอ  มือเท้าฝ่อซีดเหี่ยว  เสโทเหนียวกายเป็นเหน็บ  ดูต้นเล็บโลหิตคล้ำ  โรคมันทำเร่งรักษา

U66.59                      โรคที่เกี่ยวกับป่วง, ไม่ระบุรายละเอียด

 U66.6              พยาธิในลำไส้

                                U66.60                           พยาธิไส้เดือน
ถ้ามีพยาธิอยู่ในลำไส้จำนวนน้อยมักจะไม่มีอาการอะไร  บางคนอาจถ่ายหรืออาเจียนเป็นตัวไส้เดือน  บางคนอาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนเป็นๆหายๆ เรื้อรัง  โดยมากมักจะมีอาการหลังกินอาหารสักครึ่งชั่วโมง  บางคนอาจแสดงอาการลมพิษเรื้อรัง  ในรายที่มีพยาธิจำนวนมาก  เด็กอาจมีอาการผอมแห้งแรงน้อย  กินข้าวได้แต่ไม่อ้วนขึ้น  หรือกลับผอมลง  บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร  บางคนมีลักษณะพุงโรก้นปอด  ขาดอาหาร  บางครั้งพยาธิอาจรวมเป็นกระจุก  ทำให้เกิดอาการอุดตันของลำไส้  มีอาการปวดท้องรุนแรง  อาเจียน  และคลำได้ก้อนที่หน้าท้อง

                                U66.61                           พยาธิเส้นด้าย
เป็นพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคลายเส้นด้าย  ตัวเมียขนาดยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร  ตัวผู้ยาวประมาณ ๐.๓ เซนติเมตร  พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของคน  พยาธิตัวเมียที่ถูกผสมแล้วจะเคลื่อนตัวออกมาวางไข่ที่ก้นของผู้ป่วยในเวลากลางคืน  จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคันก้นมาก (บางครั้งอาจออกมาวางไข่ที่ปากช่องคลอดของเด็กผู้หญิง  ทำให้มีอาการคันช่องคลอดได้)  ไข่พยาธิจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน ๖ ชั่วโมง  ตัวอ่อนบางตัวอาจเคลื่อนย้ายกลับเข้าไปเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้  เมื่อผู้ป่วยเกาก้นไข่พยาธิจะติดที่ซอกเล็บหรือปลายนิ้ว  เมื่อผู้ป่วยกินอาหารโดยใช้มือจับอาหาร  หรือเด็กที่ชอบกัดเล็บหรือดูดนิ้วเล่น  ก็จะกลืนเอาไข่พยาธิลงไปด้วย  ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อน  และเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้  มักมีอาการคันก้นมาก  เฉพาะในเวลากลางคืน  ผู้ป่วยมักจะต้องเกาก้นและอาจนอนไม่หลับ

                                      U66.62                           พยาธิตัวตืด
ที่พบบ่อยได้แก่ พยาธิตืดวัว (Taenia saginata)  พยาธิตืดหมู (Taenia solium)  พยาธิตัวแก่ซึ่งมีความยาวประมาณ ๓ เมตร  ประกอบด้วยปล้องจำนวนมากมาย  อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคน  ปล้องของพยาธิจะหลุดออกมากับอุจจาระหรือออกมาเอง  แล้วแตก  ซึ่งจะปล่อยไข่ (ปล้องหนึ่งๆ มีไข่เป็นพันเป็นหมื่นฟอง) กระจายอยู่บนพื้นดินหรือพื้นหญ้า  เมื่อวัว (หรือหมู) กินไข่ตัวตืดวัว (หรือตืดหมู) ที่ออกจากอุจจาระคนเข้าไป  ตัวอ่อนจะฟักในลำไส้และไชเข้ากระแสเลือด  ไปอยู่ตามกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย  โดยมีถุงหรือซิสต์ (cyst) หุ้ม  เป็นถุงเล็กๆขาวๆ คล้ายเม็ดสาคู    จึงเรียกว่าเนื้อสาคู (หรือหมูสาคู)  ถ้าคนกินเนื้อ (หรือหมู) สาคูเข้าไป  ตัวอ่อนก็จะไปเจริญเป็นตัวแก่ต่อไป  แต่ถ้าคนกินไข่ของตืดหมู (ที่ออกจากอุจจาระผู้ป่วย) ซึ่งปนเปื้อนตามมือ  ผัก  หรืออาหาร  หรือตัวผู้ป่วยเองเกิดอาเจียนขย้อนเอาไข่ที่อยู่ในปล้องแก่ของพยาธิขึ้นมาอยู่ในกระเพาะอาหาร  ตัวอ่อนก็จะฟักตัวออกจากไข่  แล้วไชเข้ากระแสเลือดกลายเป็นซิสต์  กระจายไปอยู่ตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย  เรียกว่าโรคซิสต์พยาธิตืดหมู (cysticercosis)  อาจอยู่ในกล้ามเนื้อและสมอง (แต่ถ้าคนกินไข่ของตืดวัว  ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะตายไป  ไม่เกิดอันตรายเหมือนกินตืดหมู)  อาการถ้าเป็นโรคพยาธิตัวตืดในลำไส้โดยทั่วไปจะไม่มีอาการรุนแรง  เพียงแต่เวลาถ่ายอุจจาระมีปล้องพยาธิคล้ายเส้นบะหมี่หรือก๋วยเตี๋ยวหลุดออกมาเป็นท่อนๆ เป็นครั้งคราว  บางรายอาจมีอาการหิวบ่อย  กินจุแต่ผอม  อ่อนเพลีย  น้ำหนักลด  อาจมีอาการปวดท้อง  ท้องอืดคลื่นไส้อาเจียน  หรือถ่ายอุจจาระบ่อย  บางรายอาจมีอาการแพ้เป็นลมพิษได้  แต่ถ้ากินไข่ของตืดหมูเข้าไปจะเกิดมีตุ่มซิสต์ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวกระจายอยู่ใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย  ถ้าไปอยู่ในตาเรียกว่าโรคซิสต์พยาธิตืดหมูในตา (ocular cysticercosis)  อาจทำให้เยื่อตาขาวอักเสบ  ม่านตาอักเสบ  ประสาทตาอักเสบ  อาจทำให้ตาบอดได้  ถ้าไปอยู่ในสมองเรียกว่าโรคซิสต์พยาธิตืดหมูในสมอง (cerebral cysticercosis)  อาจทำให้มีอาการชักแบบลมบ้าหมู  แขนขาเป็นอัมพาต  มีอาการทางจิตประสาท  หรือปวดศีรษะ  คลื่นไส้อาเจียนได้

                                      U66.63                           พยาธิปากขอ
มีขนาดยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร  เกาะอาศัยอยู่บนผนังลำไส้และดูดเลือดจากบริเวณนั้น  อาการของโรคจะมากน้อยขึ้นกับจำนวนของพยาธิที่มีอยู่ในลำไส้ (อาการซีดจะเกิดขึ้นเมื่อมีพยาธิมากกว่า ๑๐๐ ตัวขึ้นไป)  ไข่พยาธิจะหลุดออกมากับอุจจาระ  ซึ่งจะเจริญเติบโตบนพื้นดินที่ชื้นและมีความอุ่น  พยาธิตัวอ่อนที่ฟักตัวบนดินจะไชเข้าทางผิวหนังของคนที่เดินผ่านไปมาหรือเด็กที่เล่นคลุกดิน  เข้าไปในกระแสเลือด  ไปยังหัวใจและปอด  จากปอดพยาธิจะเคลื่อนตัวขึ้นมาที่หลอดลมจนถึงคอหอย  แล้วจะถูกกลืนลงหลอดอาหารเข้าไปในกระเพาะและลำไส้เล็ก  แล้วเจริญเป็นตัวแก่ต่อไปในลำไส้เล็ก

                                      U66.68                           พยาธิชนิดอื่นในลำไส้, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U66.69                           พยาธิในลำไส้, ไม่ระบุรายละเอียด

 U66.7              ปวดท้อง

U66.70                      จุกเสียดแน่นท้อง
อาการปวด  แน่น  จุกเสียด  รู้สึกไม่สบายในช่องท้อง

                                      U66.71                           ปวดท้องน้อย
อาการเจ็บปวดช่องท้องบริเวณสวนล่าง  ตั้งแต่ใต้สะดือลงไปจนถึงอุ้งเชิงกราน

                                      U66.72                           ปวดท้องตำแหน่งอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U66.73                           ปวดท้อง, ไม่ระบุตำแหน่ง

 U66.8              โรคและอาการอื่นในท้อง

                                U66.80                           ท้องอืด
ความรู้สึกว่ามีลมในกระเพาะหรือลำไส้  ทำให้แน่นอึดอัดในช่องท้อง

                                      U66.81                            เบื่ออาหาร
ความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร

                                      U66.82                           คลื่นไส้
ความรู้สึกอยากอาเจียน

                                      U66.83                           อาเจียน
การที่มีแรงดันจากกระเพาะลำไส้และกล้ามเนื้อหน้าท้อง  เป็นเหตุให้ผลักดันอาหารและสิ่งต่างๆ ในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นออกมาทางปาก

                                      U66.84                           กระเพาะอาหารอักเสบ
การอักเสบของกระเพาะอาหาร

U66.85                      นิ่วศิลาปูน
มักเกิดเพื่ออาโปธาตุ  แลผู้ใดกินหมากมากนัก  กลืนน้ำหมากเข้าไปเนืองๆ  ปูนที่กินกลืนเข้าไปนั้นที่จะได้ออกมากับมูตรคูถมิได้  ก็นอนเป็นตะกอนคุมเป็นก้อนปรวดอยู่ในกระเพาะมูตร  ก็พอกเข้าเป็นลูกกลมดังเมล็ดบัว  แลมักออกมาจุกช่องทวารปัสสาวะ  แต่เมื่อจะถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งนั้นให้เจ็บปวดเป็นกำลัง  ดิ้นรนไปดังจะขาดใจตาย  แลให้กายนั้นผอมเหลือง

                                      U66.86                                   ดานลม
เป็นโรคที่เกิดกับคนสูงอายุ (ปัจฉิมวัย)  เป็นได้ทั้งหญิงและชาย  ให้มีท้องผูกเป็นประจำ  เป็นเถาดานพรรดึก     อุจจาระแข็งเหมือนขี้แพะ  มีอาการใจหวิว  ใจสั่น  เบื่ออาหาร  นอนไม่หลับเวลาดึกๆ หรือเช้ามืด  อากาศเย็น    ให้ตื่นขึ้นมาไอ  ทำให้เหนื่อย  เวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  หงุดหงิดง่าย  อารมณ์ไม่แจ่มใส  ท้องอืดท้องเฟ้อได้  ปวดหลังเป็นประจำ  ชาปลายมือ  ปลายเท้า  และเย็นเหมือนเป็นเหน็บ         

 

                                      U66.88                           โรคและอาการอื่นในท้อง, ที่ระบุรายละเอียด
U66.9                       โรคและอาการในท้อง, ไม่ระบุรายละเอียด

 U67                     โรคและอาการของทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

U67.0                       ปัสสาวะขัด

อาการปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะออกยาก ปัสสาวะไม่ค่อยออก หรือปัสสาวะออกน้อย หรือบางทีอาจมีอาการปวดแสบร่วมด้วย

U67.1                       ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะจำนวนครั้งมากกว่าปกติ

U67.2                       ปัสสาวะมีเลือดปน หรือ ปัสสาวะเป็นเลือด
                           ปัสสาวะมีเลือดปน  ทำให้มีปัสสาวะสีแดง  หรือเป็นเลือดสด

U67.3                       หนองออกจากท่อปัสสาวะ
หนองไหลจากท่อปัสสาวะ

U67.4                       กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้

U67.5                       เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ลักษณะอาการของโรค คือ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว  ความต้องการทางเพศลดลง  มีสาเหตุมาจากด้านจิตใจ  กำลังใจ  เนื้อคู่ไม่สวยสมใจ  สภาวะทางเศรษฐกิจ  ความเครียดทางอารมณ์  จากหัวใจ (ระบบสูบฉีดเลือด) ไม่แข็งแรง  ปริมาณของเลือดในร่างกาย (เลือดข้นหรือเป็นตะกอนง่าย)  การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง  เช่น  โรคความดันโลหิตสูง  โรคกระเพาะอาหาร  และการสูบบุหรี่  ฮอร์โมนเพศหมดหรือไม่มี  เกิดจากอุบัติเหตุ  หรือการหกล้มกระทบกระแทกเส้นประสาทบริเวณอุ้งเชิงกราน

U67.8                       โรคและอาการอื่นของทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์, ที่ระบุรายละเอียด

U67.9                       โรคและอาการของทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์, ไม่ระบุรายละเอียด

 U68                    โรคและอาการของทวารหนัก 

U68.0                       ริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงมักตั้งขึ้นเหนือสะดือใต้สะดือ ๓ นิ้วก็ดี  มักบานเป็นดอกบุก  บางทีก็แตกเป็นโลหิตสดๆจางๆ ออกมา  บางทีเป็นน้ำชานหมาก  น้ำล้างเนื้อ  น้ำฝางต้ม  บางทีเป็นเม็ดลงมาแต่สะดือถึงทวารหนักทวารเบา  แล้วก็เลื่อนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  บุรุษเรียกว่า บานทะโรค  สตรีเรียกว่า ส้วงเลื่อนที่ทวารเบา  ถ้าเป็นที่ทวารหนักเรียกว่า บานทะโรค

U68.8                       โรคและอาการอื่นของทวารหนัก, ที่ระบุรายละเอียด

U68.9                       โรคและอาการของทวารหนัก, ไม่ระบุรายละเอียด

 U69                    อุจจาระผิดปกติ

 U69.0              อุจจาระธาตุพิการ
ลักษณะของโรคอุจจาระธาตุ  เหตุด้วยผู้นั้นเป็นไข้ที่มีพิษจัดตกถึงสันนิบาตแล้วเรื้อรัง  ธาตุนั้นยังแปรปรวนวิปริต  อุจจาระไม่เป็นปกติ  จึงกลายเป็นโรคอุจจาระธาตุ  หรือรับประทานอาหารที่แปลก  หรือที่เคยเกินกำลังกว่าธาตุ  เป็นต้นว่าเนื้อสัตว์ดิบ  หรือเนื้อสัตว์ที่มีคาวมาก  แลไขมันต่างๆ และของหมักดองบูดเน่า  ธาตุนั้นก็วิปริตแปรปรวน  หาเสมอเป็นปกติไม่  กระทำให้ท้องขึ้นท้องเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว  จุกเสียดแทง  อุจจาระก็วิปริตต่างๆ  จึงกลายเป็นโรคอุจจาระธาตุ

                                U69.00                           อุจจาระกลิ่นดังปลาเน่า
เกิดแต่กองอาโปสมุฏฐานให้เป็นเหตุ  อาการอุจจาระปัสสาวะมิสะดวก ๑  ให้เจ็บอก ๑  ให้น้ำลายไหล ๑  รวม ๓ ประการ

 

                                      U69.01                           อุจจาระกลิ่นดังหญ้าเน่า
เกิดแต่กองเตโชสมุฏฐานให้เป็นเหตุ  อาการให้ปากแห้งคอแห้ง ๑  ให้หนักตัว ๑  ให้วิงเวียน ๑  ให้อุจจาระปัสสาวะมิสะดวก ๑  ให้เสโทไหลหยดย้อย ๑  รวม ๕ ประการ

                                      U69.02                           อุจจาระกลิ่นดังข้าวบูด
เกิดแต่กองวาโยสมุฏฐานให้เป็นเหตุ  อาการให้เสียดแทง ๑  ให้เจ็บคอ ๑  ให้คันจมูก ๑  ให้เมื่อยไปทั่วร่างกาย ๑  ให้ตะครั่นตะครอ ๑  รวม ๕ ประการ

                                      U69.03                           อุจจาระกลิ่นดังซากศพเน่าโทรม
เกิดแต่กองกำเดาสมุฏฐาน  เสมหะสมุฏฐานด้วยปถวีให้เป็นเหตุ  อาการให้เจ็บในอก ๑  ให้เจ็บในท้อง ๑     ให้บวมมือบวมเท้า  บางทีให้บวมไปทั่วร่างกาย ๑  รวม ๓ ประการ

                                      U69.09                           อุจจาระธาตุพิการ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U69.8              อุจจาระผิดปกติแบบอื่น

                                U69.80                           ท้องเดิน หรือ ท้องเสีย
ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งขึ้นกว่าปกติ  โดยมีลักษณะเหลว  หรือเป็นน้ำ
                                                               
                                U69.81                           บิด
มีอาการถ่ายเป็นมูก  หรือมูกปนเลือด  กะปริดกะปรอยบ่อยครั้ง

                                      U69.82                           ถ่ายเป็นเลือด
ถ่ายมีเลือดแดงสดออกทางทวารหนัก

                                      U69.83                           ถ่ายดำ
ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ

                                U69.84                           ท้องผูก
ถ่ายอุจจาระน้อยครั้งกว่าปกติ  คนปกติถ่ายอุจจาระอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง  หรือถ่ายลำบากโดยต้องเบ่งมากขึ้น  อุจจาระแข็ง  หรือรู้สึกอึดอัดเหมือนถ่ายอุจจาระไม่หมด
                                                                ไม่รวม:                               ท้องผูกเป็นพรรดึก (U65.25)

                                U69.85                           ท้องผูกเป็นพรรดึก
การอัดแน่นของอุจจาระ  เป็นอาการสืบเนื่องจากท้องผูก  เป็นการสะสมของอุจจาระที่แห้งแข็งในลำไส้ตรง  และน้ำถูกดูดซึมกลับเรื่อยๆ  อุจจาระยิ่งแห้งแข็งมากและอัดกันแน่นเป็นก้อน  ทำให้ถ่ายออกไม่ได้  อุดตันที่ส่วนล่างของลำไส้ใหญ่  มักพบก้อนแข็งๆ ของอุจจาระ  หรืออาจไม่พบถ้าก้อนอยู่สูงขึ้นไป  เวลาถ่ายออกมาจะคล้ายขี้แพะ  ขี้แมว

                                U69.88                           อุจจาระผิดปกติแบบอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

U69.9                       อุจจาระผิดปกติ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U70                    อาการและโรคของผิวหนัง

 U70.0              เรื้อน
เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง  เกิดจากเชื้อโรคเรื้อน  จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นเป็นวงตามร่างกาย  มีอาการชา  ใช้เข็มแทงหรือหยิกจะไม่เจ็บ  ถ้าไม่ได้รักษาเส้นประสาทจะถูกทำลาย  ทำให้มือเท้าอ่อนแรงและชา  กล้ามเนื้อฝ่ามือหลังมือลีบ  ข้อมือตก  เดินเท้าตก

                                U70.00                           เรื้อนกวาง
เมื่อจะบังเกิดนั้นเกิดขึ้นตามข้อมือและข้อเท้า  และกำด้นต้นคอ  กระทำให้เป็นน้ำเหลืองลามออกไป  ครั้นต้องยาเข้าก็แห้งเข้า  บางทีก็หายขาด  บางทีก็ไม่หาย  แต่ไม่ตาย  เป็นแต่ลำบาก

                                      U70.01                           เรื้อนวิมาลา หรือ เรื้อนวิลา
เมื่อจะบังเกิดนั้นขึ้นที่หูและกำด้นต้นคอ  กระทำให้เปื่อยพุพองให้คัน  สัณฐานดุจมะเร็งไร  ยิ่งคันยิ่งเกา  ครั้นวายเกาแล้วให้แสบร้อนตามที่เกา  ลักษณะของวิมาลานี้หายมากกว่าไม่หาย
                                               
                                U70.02                           เรื้อนเกล็ดปลา
เมื่อจะบังเกิดนั้นมักขึ้นที่หน้าก่อน  แล้วลามลงมาถึงต้นคอ  ลงมาถึงทรวงอกก็มี  แล้วลามเป็นเกล็ดไปทั่วทั้งตัว  สัณฐานผิวดำ  ลักษณะดังกล่าวมานี้มิเป็นไร

                                      U70.03                           เรื้อนบอน
เมื่อแรกผุดขึ้นมานั้นเป็นรูปรุไปมิใคร่จะเห็น  ถึงแม้จะเห็นก็เห็นแต่ขาวๆแดงๆ อยู่ในเนื้อรำไรมิได้เห็นถนัด
                                      U70.04                           เรื้อนดอกหมาก
ผุดขึ้นเป็นขาวๆ ดังดอกหมาก  ถ้าเหงื่อออกจะทำให้คัน  เกาจนน้ำเหลืองซึมจึงหายคัน

                                U70.05                           เรื้อนหิด
มักขึ้นทั่วทั้งตัว  แล้วลามไปดุจบุคคลเป็นโรคกลาก

                                      U70.08                           เรื้อนชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U70.09                           เรื้อน, ไม่ระบุรายละเอียด

 U70.1              หิด
เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากตัวหิด  มีอาการเป็นตุ่มใสและตุ่มหนอง  มีอาการคัน  ขึ้นกระจายเหมือนกันทั้ง ๒ ข้างของร่างกาย  มักพบตามง่ามนิ้วมือ  ง่ามนิ้วเท้า  ข้อมือ  ข้อศอก  รักแร้  หัวนม  รอบสะดือ  ก้น  ข้อเท้า  อวัยวะเพศ  ในเด็กอาจพบตามบริเวณใบหน้าและศีรษะ  

                                U70.10                           หิดด้าน
สัณฐานเม็ดกลม  มีสีใสขาว  เห็นเป็นเงาใสในเนื้อ

                                      U70.11                           หิดเปื่อย
เป็นเช่นเดียวกับหิดด้าน  แต่แผลที่เป็นนั้นจะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มกว่า  และไหลไปถึงไหนก็ลามไปถึงนั้น

                                      U70.18                           หิดชนิดอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U70.19                           หิด, ไม่ระบุรายละเอียด

 U70.2              กลาก และ เกลื้อน

                                U70.20                           กลาก
ตามผิวหนังจะปรากฏวงมีขอบชัดเจน  เชื้อราจะอยู่ตามขอบของวงนั้น  โรคนี้เกิดจากเชื้อราหลายชนิด

                                      U70.21                           เกลื้อน
เป็นดวงขาวหรืออาจเป็นขุยตามร่างกายทั่วไป  ส่วนมากมักจะพบบริเวณหน้า  หลัง  หน้าอก  และแขน  โดยเฉพาะส่วนที่มีเหงื่อมาก  แต่ไม่ปรากฏขอบชัดเจนเช่นโรคกลาก  และจะไม่มีอาการเช่นโรคเรื้อนชนิดที่เป็นกับวิถีประสาท  ซึ่งมีลักษณะบางอย่างคล้ายกันมาก  โรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อราพวกหนึ่ง  เกิดในคนที่ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย  หมักหมมเหงื่อไคลและเสื้อผ้าสกปรก

 U70.3              ตุ่มหนองและฝี
                          
U70.30                     ตุ่มหนอง
ตุ่มที่มีหนองอยู่ในหรือใต้ผิวหนัง

U70.31                     ฝี
                                                                                ก้อน หรือตุ่มหนอง อยู่ในอวัยวะต่างๆ  เช่น ผิวหนัง,ตับ,ม้าม,ปอดเป็นต้น

 U70.4              โรคของหนังศีรษะ

                           U70.40                           รังแค
เกล็ดสีขาวบนหนังศีรษะ  ซึ่งจะหลุดร่วงเมื่อแปรงหรือหวีผม  การมีขี้รังแคมากไม่ถือว่าเป็นโรค  และไมทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นผมหรือการอักเสบของหนังศีรษะแต่อย่างใด นอกจากทำให้รำคาญและเสียบุคลิกภาพ  ลักษณะอาการเป็นเกล็ด หรือขุยสีขาว  หรือเทาเงิน  ขนาดเล็กๆ  อาจเป็นขุยละเอียดหรือเป็นแผ่น  อาจเป็นเพียงแห่งเดียวหรือหลายแห่ง  หรืออาจเป็นทั้งหนังศีรษะก็ได้  เกล็ดรังแคจะติดค่อนข้างแน่นบนหนังศีรษะ  และจะหลุดร่วงก็ต่อเมื่อแปรงหรือหวีผม  หรือเมื่อถูกลมพัด  ความรุนแรงของรังแคจะแปรผันไม่แน่นอนในแต่ละช่วง  โดยไม่ทราบสาเหตุ  บางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย

                                      U70.41                           ผมร่วง 
ภาวะที่มีเส้นผมร่วงมากกว่าปกติ

                                      U70.42                           เหา
พบได้บ่อยในคนที่ไม่ค่อยรักษาความสะอาด  พบมากในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักเรียนหญิงที่ไว้ผมยาวและไม่ค่อยสระผม  บางครั้งอาจพบเป็นกันเกือบทั้งชั้นเรียนในโรงเรียนตามชนบท  และตามแหล่งชุมชนแออัด  เกิดจากตัวเหา  ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด  นอนร่วมกัน  หรือใช้แปรงผม  มีอาการคันศีรษะมาก  พบตัวเหาและไข่เหา  ซึ่งเห็นเป็นจุดขาวๆ ติดอยู่บริเวณโคนผมและเส้นผม

                                      U70.43                           ชันนะตุ
เป็นเชื้อราที่ศีรษะ  มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ  ลักษณะเป็นวงๆ สีเทาๆ หรือเห็นเป็นจุดดำๆ  มักมีอาการคันในคนที่เป็นมาก  จะมีเม็ดหนองเกิดขึ้นรอบๆ ขุมขน  และลุกลามเป็นก้อนนูนใหญ่แล้วแตกออก  มีน้ำเหลืองเกรอะกรัง

                                      U70.48                           โรคชนิดอื่นของหนังศีรษะ, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U70.49                           โรคของหนังศีรษะ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U70.5              สิว  ฝ้า  และกระ

                                      U70.50                           สิว
การอุดตันรูขุมขน  ทำให้เกิดการคั่งของไขมัน  พบบ่อยบริเวณหน้า  หน้าอก  และหลัง

                                      U70.51                           ฝ้า
รอยโรคที่ผิวหนังสีน้ำตาลดำ  ขอบชัด  แต่ไม่สม่ำเสมอ  เกิดบริเวณที่ถูกแสงแดดมากๆ  พบบ่อยบริเวณแก้ม  หน้าผาก

                                      U70.52                           กระ
รอยโรคที่ผิวหนังเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มในบริเวณที่ถูกแสงแดดมาก

 U70.6              แผลและการบาดเจ็บที่ผิวหนัง

                                      U70.60                           แมลงกัดต่อย
แมลงพวกทีมีเหล็กในอยู่ที่ส่วนปลายขอบลำตัว  เมื่อต่อยเข้าผิวหนังคนเราจะปล่อยน้ำพิษออกมา  ทำให้เกิดอาการต่างๆ  เช่น  ผื่น  คัน  ปวดแสบปวดร้อน

                                      U70.61                           แผลถูกความร้อน
                                                                             มีอาการปวดแสบปวดร้อน  พองที่บริเวณผิวหนัง

                                      U70.62                           แผลอักเสบ
การที่เนื้อเยื่อของร่างกายถูกทำลาย  หรือมีการฉีกขาดเกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม

U70.68                      แผลและการบาดเจ็บชนิดอื่นที่ผิวหนัง, ที่ระบุรายละเอียด
                                      U70.69                           แผลและการบาดเจ็บที่ผิวหนัง, ไม่ระบุรายละเอียด

 U70.7              เริม

                                      U70.70                           เริมที่ปาก
ริมฝีปาก
ช่องปาก

                                      U70.71                           เริมที่หน้า
                                                                             แก้ม
                                                                                   จมูก
ตา

                                      U70.72                           เริมที่หู
                                                                             ใบหู

                                                U70.73                           เริมที่อวัยวะเพศชาย
                                      U70.74                           เริมที่อวัยวะเพศหญิง
                                     
U70.77                     เริมที่หลายตำแหน่ง
                                                             
U70.78                     เริมที่ตำแหน่งอื่นที่ระบุรายละเอียด
                                                             
U70.79                     เริม, ไม่ระบุรายละเอียด                         

 

 U70.8              โรคและอาการอื่นของผิวหนัง

                           U70.80                           พุพอง
เป็นการอักเสบของผิวหนังแบบหนึ่ง  มีลักษณะเป็นแบบตุ่มน้ำ  หรือตุ่มหนอง

                                      U70.81                           ผื่น
ผิวหนังขึ้นเป็นผื่น  ตุ่ม  หรือวงต่างๆ

                                      U70.82                           คันบริเวณผิวหนังภายนอก
มีอาการคันตามร่างกาย

                                      U70.83                           ลมพิษ
เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง  เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แพ้จะสร้างสารแพ้ออกมา  ทำให้เกิดเป็นผื่นวงนูนแดงที่ผิวหนัง  มีขนาดรูปร่างต่างๆกัน  เช่น  วงกลมรี  วงหยัก  เนื้อภายในวงกลมจะนูนและมีสีซีดกว่าขอบเล็กน้อย  ทำให้เป็นขอบแดง  จะมีอาการคันมาก  เกาตรงไหนก็จะมีผื่นแดงขึ้นตรงนั้น

                                      U70.84                           หูด
เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาของผิวหนัง  เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงและมีหลายชนิด  อาจมีขนาดแตกต่างกันไป  ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น  อาจขึ้นเดี่ยวหรือหลายอันก็ได้  มักขึ้นที่มือ  เท้า ข้อศอก ข้อเข่า  ใบหน้า  ฝ่ามือฝ่าเท้า  อาจขึ้นตามผิวหนังส่วนอื่นๆ  รวมทั้งที่อวัยวะเพศ

                                      U70.85                           ตาปลา
ผิวหนังที่ด้านหนาขึ้นเนื่องจากแรงกดหรือแรงเสียดสีนานๆ  มักเกิดตรงบริเวณที่มีปมกระดูกนูน  ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่บริเวณฝ่าเท้าและใต้นิ้วเท้า  อาจมีลักษณะคล้ายหูดที่ฝ่าเท้า

                                      U70.86                           แสบร้อนตามผิวหนัง
อาการปวดแสบร้อนที่ผิวหนัง

                                      U70.87                           สะเก็ดเงิน
เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ค่อนข้างบ่อย มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน แห้ง และมักมีสะเก็ดสีเงินอยู่บนผื่นนั้น พบบ่อยตามลำตัว ข้อศอก ข้อเข่า หนังศีรษะ รอยพับของผิวหนัง ปลายนิ้ว หรืออาจเป็นได้ทุกส่วนของผิวหนัง

                                      U70.88                           โรคและอาการอื่นของผิวหนัง, ที่ระบุรายละเอียด
                                      U70.89                           โรคและอาการของผิวหนัง, ไม่ระบุรายละเอียด

 U71                    ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ  กระดูก  และข้อ
                               
 U71.0              ความผิดปกติของหัวไหล่
                                      ไม่รวม:                            เส้นเอ็นอักเสบ (U72.0)

                                U71.00                           หัวไหล่ติด หรือ หัวไหล่อักเสบ
เป็นอาการที่เกี่ยวเนื่องกับข้อไหล่  เส้นเอ็น  มีอาการยกแขนได้ไม่สูง  มือเท้าสะเอวไม่ได้องศา  มือไพล่หลังไม่ได้

                                      U71.01                           หัวไหล่เบี่ยง หรือ หัวไหล่เคลื่อน หรือ หัวไหล่หลุด
จะมีอาการปวดบวมแดงร้อนหัวไหล่ด้านหน้า  เคลื่อนไหวมุมปกติไม่ได้  ยกแขนชูแขนไม่ขึ้น  จะเกิดจากอุบัติเหตุทันทีทันใด  เช่น  โดนกระชาก  หกล้ม  เป็นต้น
 
                                      U71.08                           ความผิดปกติชนิดอื่นของหัวไหล่, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.09                           ความผิดปกติของหัวไหล่, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 U71.1              ความผิดปกติของข้อศอก
                                      ไม่รวม:                            เส้นเอ็นอักเสบ (U72.0)

                                U71.10                           ข้อศอกเบี่ยง หรือ ข้อศอกเคลื่อน หรือ ข้อศอกหลุด
มีอาการปวดบวมแดงร้อนที่ข้อศอก  หยิบจับขันน้ำไม่สะดวก  มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ  เช่น  หกล้ม  หรือเล่นกีฬา

                                      U71.18                           ความผิดปกติชนิดอื่นของข้อศอก, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.19                           ความผิดปกติของข้อศอก, ไม่ระบุรายละเอียด

 U71.2              ความผิดปกติของมือ  ข้อมือ  และนิ้วมือ

ไม่รวม:                            เส้นเอ็นอักเสบ (U72.0)

                                U71.20                           ข้อมือเคล็ด
เกิดจากเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่ยึดอยู่รอบๆ ข้อจ่อของข้อมือมีการฉีกขาด  เนื่องจากหกล้ม  ข้อบิด  ถูกกระแทก  หรือยกของหนัก  ทำให้มีอาการปวดเจ็บข้อ  มีลักษณะบวม  แดง  และร้อน

                                      U71.21                           สันนิบาตข้อมือตก หรือ สันนิบาตข้อมือ
ข้อมือไม่มีกำลังกระดกข้อมือขึ้น-ลง  ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นจะทำให้นิ้วมือขยับไม่ได้  และอาจพบอาการบวมชาเจ็บเสียวข้อมือและนิ้วมือร่วมด้วย  สาเหตุเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือไม่สะดวก,  เส้นประสาทที่เลี้ยงข้อมืออ่อนแรง,  การหดตัวของหลอดเลือดอย่างกะทันหัน,  เมื่อถูกความเย็นเป็นระยะเวลานานทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณมือและนิ้วมือไม่ได้,  เกิดจากโรคบางชนิด  เช่น  โรคพิษสุราเรื้อรัง  เบาหวาน  อัมพฤกษ์  อัมพาต  เป็นต้น

                                U71.22                           ก้อนปมหน้ามือ หรือ หลังมือ
มีกระดูกงอกบริเวณมือ  มีลักษณะเป็นก้อนปม

U71.23                      นิ้วมือซ้น
มีอาการปวดข้อนิ้วที่เป็น  มีบวมแดง  มักจะพบเป็นที่นิ้วกลางมากที่สุด  มักจะเป็นตรงข้อนิ้วตรงกลาง  สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ  จากการเล่นกีฬา  และอื่นๆ

                                      U71.28                           ความผิดปกติชนิดอื่นของมือ  ข้อมือ  และนิ้วมือ, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.29                           ความผิดปกติของมือ  ข้อมือ  และนิ้วมือ, ไม่ระบุรายละเอียด

 U71.3              ความผิดปกติของข้อสะโพก
                                      ไม่รวม:                            เส้นเอ็นอักเสบ (U72.0)

                                      U71.30                           ข้อสะโพกเบี่ยง หรือ ข้อสะโพกเคลื่อน หรือ ข้อสะโพกหลุด
เบี่ยง หมายถึง การเคลื่อนหลุดบางมุม  ข้อสะโพกเบี่ยงจะหมายถึงสัญญาณ ๓  ขาด้านนอกเคลื่อนหลุด  โดยจะมีอาการปวดขัดในสะโพก  เดินไม่ถนัด  รับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่  บางครั้งอาจมีร้าวชาปวดตรงก้นย้อย  ร้าวลงไปที่ต้นขา  บางครั้งอาจมีอาการคล้ายโรคสัญญาณ ๑ หลัง  ต่างกันที่ตำแหน่งจุดเจ็บ  สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุหกล้ม  ก้าวขาสูงเกินไป  เช่น  ก้าวขึ้นรถ  ทำให้เกิดการเคลื่อนหลุดตรงสัญญาณ ๓ ขาด้านนอก

                                      U71.38                           ความผิดปกติชนิดอื่นของข้อสะโพก, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.39                           ความผิดปกติของข้อสะโพก, ไม่ระบุรายละเอียด

 U71.4              ความผิดปกติของหัวเข่า
                           ไม่รวม:                               ความผิดปกติของสะบ้า (U71.5-)
                                                                             เส้นเอ็นอักเสบ (U72.0)

                                U71.40                           หัวเข่าเบี่ยง หรือ หัวเข่าเคลื่อน หรือ หัวเข่าหลุด
มีอาการเคลื่อนหลุดของข้อด้านใดด้านหนึ่งของข้อเข่า  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเข่า  โดยเฉพาะหัวเข่าด้านใน  จะปวดตึ๊บๆ  ไม่สามารถงอขาชิดก้นได้  เหยียดขาไม่ตรง  เดินรับน้ำหนักได้ไม่เต็มที่  เดินขากระเผลก

                                     

U71.41                      หัวเข่าเสื่อม
                                                                ไม่รวม:                             เข่าเสื่อมมีหินปูนเกาะ (U71.42)
เป็นการอักเสบของข้อเข่าเรื้อรัง  การเสื่อมของข้อเข่า  น้ำหนักตัวมาก  และจากโรคลมจับโปงน้ำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่เข่าเพียงเล็กน้อย  แต่จะมีสภาวะเข่าติด  ขาโก่ง  นั่งยองๆไม่ได้  ขณะเดินในเข่าจะมีเสียงดังกร๊อบแกร๊บ  อาการปวดมากเวลาเปลี่ยนอิริยาบถและก้าวขึ้นบันได

                                U71.42                           เข่าเสื่อมมีหินปูนเกาะ
ปวดเข่ามาก  โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่ายืน  หรือนั่งยองๆ แล้วลุกขึ้น  ตึงในหัวเข่า  เวลาเดินรู้สึกเหมือนมีกระดูกขบกัน  ข้างที่เป็นจะรับน้ำหนักไม่เท่ากัน  มักเป็นในวัยสูงอายุ (ปัจฉิมวัย)  เดินไกลๆ ต้องหยุดพักจึงสามารถเดินต่อไปได้  ลุกขึ้นแล้วเดินทันทีไม่ได้  ขึ้นบันไดด้วยการหยุดก้าวตาม  ขึ้นทั้ง ๒ ขาไม่ได้  เป็นมากๆ หรือเป็นมานานๆ จะนั่งยองๆ หรือพับเพียบไม่ได้  ขาไม่มีแรงเดิน  เวลาเดินต้องก้าวสั้นๆ  เดินไกลไม่ได้  เข่าข้างที่เป็นเมื่อนั่งพับเพียบแล้วหลังจะคด

                                      U71.48                           ความผิดปกติชนิดอื่นของหัวเข่า, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.49                           ความผิดปกติของหัวเข่า, ไม่ระบุรายละเอียด

 

 U71.5              ความผิดปกติของสะบ้า

                                U71.50                           สะบ้าเคลื่อน
ลูกสะบ้าเคลื่อน  หลวม  เอ็นบริเวณลูกสะบ้าเข่าไม่กระชับ  ทำให้เข่าหลวม  คลอนลูกสะบ้าได้มากกว่าปกติ  หรือคลอนลูกสะบ้าไม่ได้เพราะลูกสะบ้ายึด  เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อเอ็นรอบเข่า

                                      U71.51                           สะบ้าลอย
ลูกสะบ้าหลวม  เอ็นบริเวณลูกสะบ้าเข่าไม่กระชับ  ทำให้ข้อเข่าหลวม  เวลาเขยื้อนลูกสะบ้าจะเคลื่อนไหวได้มากกว่าปกติ  เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อเอ็นรอบเข่า

                                      U71.52                           สะบ้าจม
ลักษณะของเอ็นต้นขาอักเสบ

                                      U71.53                           สะบ้าบิน
เอ็นยึดลูกสะบ้าหลวมคลอน  ทำให้เวลาเดินข้อเข่าไม่กระชับ

                                      U71.54                           สะบ้าเจ่า
สภาวะที่ลูกสะบ้าไม่เคลื่อนไหว  เนื่องจากเอ็นยึดหดตัวหรือหินปูนเกาะ  มักมาจากรอยโรคจับโปงแห้ง
                                      U71.58                           ความผิดปกติชนิดอื่นของสะบ้า, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.59                           ความผิดปกติของสะบ้า, ไม่ระบุรายละเอียด

 U71.6              ความผิดปกติของเท้า  ข้อเท้า  และนิ้วเท้า
                                      ไม่รวม:                            เส้นเอ็นอักเสบ (U72.0)

                                U71.60                           กระดูกหลังเท้าเคลื่อน
เป็นโรคเกิดจากอุบัติเหตุที่บริเวณหลังเท้า  กระดูกข้อต่อระหว่างข้อเท้ากับกระดูกเท้าเคลื่อน  อาจมีกล้ามเนื้อหรือเอ็นฉีกขาด  หรือกระดูกแตกร้าวร่วมด้วย  สาเหตุเกิดจากหกล้มหลังเท้าตะแคงลง  กระดูกหลังเท้าถูกกระแทก  หรือล้มคว่ำหน้ากระดูกหลังเท้าถูกดัดอย่างแรง  จะมีอาการคือ ปวดบวมแดง / เขียว บริเวณหลังเท้า  อาจมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหรือเอ็นบริเวณนั้น  อาจมีอาการแตกร้าวของกระดูกเท้าบริเวณข้อต่อ

                                      U71.61                           โครงสร้างกระดูกขาและเท้าผิดปกติ
โครงสร้างกระดูกขา เท้า มีรูปร่างเปลี่ยนไปจนเสียจากรูปเดิม  เช่น  ขาโก่ง  เท้าบิด

                                      U71.62                           ข้อเท้าเบี่ยง หรือ  ข้อเท้าเคลื่อน หรือ ข้อเท้าหลุด
มีอาการเคลื่อนหลุดของข้อด้านใดด้านหนึ่งของข้อเท้า  จะมีอาการปวด และกระดกข้อเท้าขึ้น-ลงลำบาก   เดินลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่

                                   
U71.63                      ข้อเท้าแพลง
เกิดจากอุบัติเหตุ  ตำแหน่งที่พบมี ๓ ตำแหน่ง

  • ด้านหน้าข้อเท้า  พบในลักษณะที่หกล้มแล้วพับไปด้านหลัง
  • ด้านนอกข้อเท้า  พบตาตุ่มด้านนอกด้านนิ้วก้อย
  • ด้านตาตุ่มด้านใน  พบได้ไม่บ่อยแต่รุนแรง

U71.64                      สันนิบาตตีนตก หรือ สันนิบาตข้อเท้า
ข้อเท้าไม่มีกำลัง  เวลาเดินจะสะดุดพื้น  เพราะไม่สามารถกระดกปลายเท้าขึ้นลงได้  บางรายมีอาการบวมร่วมด้วย  แต่ไม่มีอาการชาหัวเข่าและข้อสะโพกปกติ  สาเหตุจากระบบไหลเวียนเลือดไม่สะดวก  กระทบร้อนและเย็นมากเกินไป  หรือนอนทับข้อเท้านานๆ  ประสาทที่เลี้ยงข้อเท้าอ่อนแรง  และอาจจะเกิดจากโรคลมจับโปงข้อเท้าก็เป็นไปได้

                                      U71.65                           ข้อนิ้วเท้าซ้น
มีการอักเสบบริเวณข้อต่อนิ้วเท้า (ข้อนิ้วข้อกลาง หรือ ข้อโคนนิ้ว)  ปวดบวมชัดเจน  มีอาการ ๓ ระดับ คือ ระดับ ๑ ข้อเคลื่อน, เอ็นเบี่ยง, เอ็นยึด  มีลักษณะเด่นคือไม่บวม  มีจุดเจ็บ  ระดับ ๒ กระดูกเคลื่อน  กล้ามเนื้อฉีกขาด  ลักษณะเด่นคือบวม  ระดับ ๓ มีกระดูกหักร่วมด้วย  การรักษาต้องเข้าเฝือก  พักใช้งานชั่วคราว (กระดูกจะเชื่อมติดกันเอง)  สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ  เช่น  เดินสะดุด  เตะหกล้ม  เป็นต้น

                                      U71.68                           ความผิดปกติชนิดอื่นของเท้า  ข้อเท้า  และนิ้วเท้า, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U71.69                           ความผิดปกติของเท้า  ข้อเท้า  และนิ้วเท้า, ไม่ระบุรายละเอียด

 U71.7              เหน็บชา  ชา  และตะคริว

                           U71.70                           เหน็บชาแห้ง
เป็นเหน็บชาทั้งตัว  โดยเฉพาะมือ เท้า  ไม่ค่อยมีความรู้สึก  ผอมแห้งไม่มีแรง  อ่อนเพลีย  ลุกเดินไม่ค่อยไหว  เบื่ออาหาร  นอนไม่หลับ  ท้องผูก  ปวดท้อง  เป็นตะคริวง่าย

                                      U71.71                           เหน็บชาบวม
เกิดจากน้ำเหลืองเสีย  กล้ามเนื้ออักเสบ  ทำให้มีอาการบวมทั้งตัว  โดยเฉพาะหน้า  มือ  เท้า  เมื่อบวมแล้วจะมีอาการเหนื่อยหอบ  ไม่มีแรง  หัวใจเต้นแรง  ท้องผูก

                                      U71.72                           เหน็บชา, ไม่ระบุรายละเอียด

                                      U71.73                           ชา
อาการที่มีความรู้สึกน้อยกว่าปกติ  เกิดจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกด  ถูกตัดขาด  หรือถูกสารพิษ  เช่น  ชามือ  ชาเท้า  ชาแขน  ชาขา

                                      U71.74                           ตะคริวน่อง
เป็นโรคลมจำพวกหนึ่งเข้าในไส้ใหญ่ไส้น้อย  มันให้ชักมือ  ชักเท้าแข็งงอ  จะจับสิ่งอันใดๆ ก็มิได้  มีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบางมัดหรือหลายๆ มัด  และมีอาการปวดร่วมด้วย  สาเหตุเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดไม่สะดวก  ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อ  เช่น  เกิดได้ทั้งบริเวณน่อง  เท้า

                                      U71.75                           ตะคริวท้อง
เป็นโรคลมจำพวกหนึ่งเข้าในไส้ใหญ่ไส้น้อย  มันให้ชักมือ  ชักเท้าแข็งงอ  จะจับสิ่งอันใดๆ ก็มิได้  มีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบางมัดหรือหลายๆ มัด  และมีอาการปวดร่วมด้วย  สาเหตุเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดไม่สะดวก  ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อ  เช่น  เกิดได้ทั้งบริเวณท้อง 

                                      U71.76                           ตะตริวที่อื่น, ที่ระบุรายละเอียด
                                                                ไม่รวม:                               ตะคริวน่อง (U69.74)
ตะคริวท้อง (U69.75)

                                U71.77                           ตะคริว, ไม่ระบุตำแหน่ง

 

 

 U71.8              ความผิดปกติชนิดอื่นของกล้ามเนื้อ  กระดูก  และข้อ

                                      U71.80                           ตกหมอน หรือ คอเคล็ด
เป็นลักษณะอาการเฉียบพลันเกิดกับกล้ามเนื้อคอ  โค้งคอ  และบ่า  กล้ามเนื้อจึงเกิดการแข็งเกร็งเพื่อป้องกันตนเอง  เรียกว่า ภาวะคอตกหมอน  ทำให้มีอาการปวดเมื่อยที่ต้นคอ  บางรายคอแข็ง  เวลาหันหน้าต้องหันไปทั้งตัวและรู้สึกปวดร้าวที่ต้นคอ  กล้ามเนื้อบริเวณบ่า  คอ  ตึงแข็งเกร็ง  มักมีอาการข้างเคียงคือปวดศีรษะร่วมด้วยเวลาเงยและก้มหน้า  มีอาการขัดและเสียวร้าว  ยอกหน้าอก  ร้าวสะบักและหัวไหล่ได้  ไม่มีอาการชาลงแขน
                                                                                              

                                      U71.81                           กล้ามเนื้ออักเสบ
มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ

U71.82                      ขากรรไกรค้าง
เกิดจากอุบัติเหตุ  การหาวแบบรุนแรง  ทำให้ขากรรไกรเคลื่อนหลุดออกจากที่ทั้งสองข้างทำให้หุบปากไม่ลง

                                      U71.83                           ขากรรไกรอักเสบ
มีการอักเสบของขากรรไกร

                                      U71.84                           กระดูกสันหลังคด หรือ กระดูกสันหลังแอ่น
โครงสร้างบริเวณกระดูกสันหลังมีรูปร่างเปลี่ยนไป  จนเสียรูปร่างจากรูปเดิม  ทำให้เกิดการคดหรือแอ่นของกระดูกสันหลัง

                                      U71.85                           กระดูกหัก
                                                                             มีการร้าว  แตก  หรือหักของกระดูกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย 

U71.88                      ความผิดปกติชนิดอื่นของกล้ามเนื้อ  กระดูก  และข้อ, ที่ระบุรายละเอียด

U71.9                       ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ  กระดูก  และข้อ, ไม่ระบุรายละเอียด
 U72                    ความผิดปกติของเส้นเอ็น

U72.0                       เส้นเอ็นอักเสบ
เส้นเอ็นที่พบว่าเกิดการอักเสบได้บ่อย  ได้แก่  เส้นเอ็นที่ข้อไหล่  ข้อศอก  ข้อมือ  ข้อสะโพก  และเส้นเอ็นร้อยหวาย (เอ็นส้นเท้า)  โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย  เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง  แต่อาจเป็นเรื้อรัง  และทำให้ทำงานหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด  ให้อาการเจ็บปวดตรงเส้นเอ็นที่อักเสบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลื่อนไหวในทิศทางที่ทำให้เส้นเอ็นส่วนนั้นถูกยืดและดึงรั้ง  อาการมักจะเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นเดือนๆ

U72.8                       ความผิดปกติชนิดอื่นของเส้นเอ็น, ที่ระบุรายละเอียด

U72.9                       ความผิดปกติของเส้นเอ็น, ไม่ระบุรายละเอียด

 

โรคและอาการอื่น
(U74 – U75)

 

 U74                    โรคอื่นๆ

 U74.0              โรคเกี่ยวกับเลือด
                                ไม่รวม:                               ความผิดปกติของโลหิตระดู (U51.-)

                                U74.00                           โลหิตน้อย หรือ โลหิตจาง
ผอมแห้งแรงน้อย  อ่อนเพลีย  ตกใจง่าย  ผิวหนังซีด  โลหิตไม่เป็นสีแดงเข้ม  ฝ่ามือฝ่าเท้าเล็บมือเล็บเท้าซีด  ในปากเหงือกซีด  ใต้ตาซีด  เปลือกตาในซีด  ตามผิวเนื้ออ่อนหรือเล็บเมื่อกดดูสีเลือดไม่ผุดขึ้นมาทันที

                                      U74.01                           พรายเลือด หรือ พรายย้ำ
พรายเลือด มีลักษณะขึ้นเป็นผื่นสีแดง  เป็นจ้ำแดงหรือเขียวก็ได้  พรายย้ำ มีลักษณะผื่นหรือจ้ำสีแดงเข้มหรือสีม่วง  ปรากฏตามผิวหนัง  อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย  เป็นโรคที่พบบ่อย  จัดเป็นโรคตระกูล ลมปลายปัตฆาต  สามารถเกิดกับผู้สูงอายุที่หลอดเลือดเปราะ และผู้หญิงก่อนมีรอบเดือนมา  พอประจำเดือนมาแล้วจะหายเอง  การนวดจะช่วยปรับสมดุลของประจำเดือน  เพื่อให้อาการน้อยลงหรือหายไป

                                      U74.08                           โรคชนิดอื่นที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเลือด
                                      U74.09                           โรคเกี่ยวกับเลือด, ไม่ระบุรายละเอียด

U74.1                       เบาหวาน
มีอาการปัสสาวะบ่อย  และมีมดมาตอมที่ปัสสาวะ  หิวน้ำบ่อย  น้ำหนักลด  มีเหงื่อออกมาก  หรือภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง  โดยมีระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้าสูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๒๖ มก./ดล. ๒ ครั้ง  หรือระดับน้ำตาลในเลือดเวลาอื่นสูงกว่าหรือเท่ากับ ๒๐๐ มก./ดล.  ร่วมกับมีอาการปัสสาวะบ่อย  หิวน้ำบ่อย  น้ำหนักลด

U74.2                       ไขมันในเลือดสูง
มีไขมันในเลือดสูง  เลือดจะข้นหนืด  หรือภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง (สูงกว่า ๒๐๐ มก./ดล.)  หรือไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (สูงกว่า ๑๕๐ มก./ดล.)  หรือสูงทั้งโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

U74.3                       โรคภูมิแพ้
เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่แพ้แล้วมีอาการผื่นคัน  หายใจไม่สะดวก  ชาตามร่างกาย  และเมื่อกระทบความเย็นจะมีอาการกำเริบ

U74.3                       ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140 / 90 ม.ม.ปรอท  โดยวัดซ้ำอย่างน้อยสองครั้ง

U74.8                       โรคอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

 U75                    อาการอื่นๆ

 U75.0              ปวดตามร่างกาย
ไม่รวม:                         ปวดท้อง (U66.70-U66.73)
ปวดฟัน (U65.4)
ปวดระดู (U51.6)
ปวดศีรษะ (U61.30)

U75.00                      ปวดคอ
มีอาการปวดเจ็บบริเวณคอ

U75.01                      ปวดหลัง
มีอาการปวดเจ็บบริเวณหลัง

U75.02                      ปวดบ่า หรือ ปวดไหล่
มีอาการปวดเจ็บบริเวณบ่า หรือ ไหล่
                                               
U75.03                      ปวดแขน หรือ ปวดมือ
มีอาการปวดเจ็บบริเวณแขน ถึง มือ

U75.04                      ปวดเอว หรือ ปวดสะโพก
มีอาการปวดเจ็บบริเวณสะโพก

U75.05                      ปวดกล้ามเนื้อ
                                                                             อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย
 
                                      U75.06                           ปวดขา หรือ ปวดเข่า หรือ ปวดเท้า
มีอาการปวดเจ็บบริเวณตั้งแต่ตะโพกถึงเท้า
                                     
U75.08                      ปวดตามร่างกายส่วนอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U75.09                           ปวดตามร่างกาย, ไม่ระบุตำแหน่ง

 U75.1              ยอกหลัง
                                เป็นอาการที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ  เส้นเอ็น  เยื่อหุ้มข้อบริเวณหลัง  มีอยู่ ๒ ชนิด คือ ยอกเดี่ยว  และยอกคู่

                                U75.10                           ยอกเดี่ยว
ให้มีอาการเสียว  ขัด  ยอก  บริเวณบั้นเอวและกล้ามเนื้อหลัง  หันตัวไม่ถนัด  เดินตัวแข็ง  เวลาไอจามจะเสียวแปล๊บ  เจ็บร้าวมาที่หลัง  มาหน้าท้อง  ไม่มีอาการร้าวชาไปขา

                                      U75.11                           ยอกคู่
เป็นอาการยอกหลังทั้ง ๒ ข้าง  ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจะเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ยอกสะดุ้ง

                                      U75.19                           ยอกหลัง, ไม่ระบุรายละเอียด

 U75.2              อาการทางจิตใจ

                                U75.20                           เครียด หรือ วิตกกังวล
                                                                             เป็นอารมณ์หรือความรู้สึกกลัวที่อยู่ลึกๆ  กังวลอึดอัดใจว่าจะมีสิ่งที่ไม่ดี  น่ากลัว  หรืออันตรายเกิดขึ้น

                                                U75.21                           ซึมเศร้า
ความสนใจ  ความตั้งใจ  ความสดชื่นลดลง  อ่อนเพลีย  ทั้งที่มีกิจกรรมเล็กน้อย  ความมั่นใจ  ความภาคภูมิใจตนเองลดลง  มีความรู้สึกผิด  และรู้สึกตัวไม่มีคุณค่า

                                      U75.22                           นอนไม่หลับ
นอนหลับยาก  หรือนอนหลับไม่สนิท

                                      U75.28                           อาการอื่นทางจิตใจ, ที่ระบุรายละเอียด

                                      U75.29                           อาการทางจิตใจ, ไม่ระบุรายละเอียด

U75.3                       ดีซ่าน
มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง  ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติ

 U75.4              บวม

                                U75.40                           บวมตามร่างกาย
มีน้ำเกินในร่างกาย  แสดงอาการโดยบวมทั่วร่างกาย  ได้แก่  หน้าบวม  หนังตาบวม  ขาบวมกดบุ๋ม

                                      U75.41                           บวมเฉพาะที่
มีอาการบวมเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

                                      U75.49                           บวม, ไม่ระบุรายละเอียด

U75.5                       ซีด
มีอาการซีดที่หน้า  เปลือกตา  ริมฝีปาก  ลิ้น  ฝ่ามือ  หรือเล็บซีดขาว

U75.6                       อ่อนเพลีย หรือ ไม่มีแรง
ความรู้สึกไม่สบาย  ไม่มีแรง  ไม่สามารถมีกำลังตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้ตามปกติ

U75.8                       อาการอื่น, ที่ระบุรายละเอียด

 U77                     การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยการนวดตัวเพื่อสุขภาพ  การนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ  การอบไอน้ำสมุนไพร  การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน  การนั่งสมาธิ  การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ